อธิบายเรื่องการ bluff ในโป๊กเกอร์ (โดย Doug Polk)

จะมีอะไรน่าพึงพอใจมากไปกว่าเวลาเรา bluff ได้สำเร็จอีก?

ในเกมโป๊กเกอร์ การ bluff คือชีวิต แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกเหมือนกัน 

บางคนรู้สึกว่าต้องระมัดระวังมากกว่า เวลา bluff โดยพวกเขามองว่า ใครที่ชอบ bluff คือพวกชอบเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

จริงอยู่ ที่ผู้เล่นบางคน bluff มากเกินไป แต่ก็มีผู้เล่นอีกหลายคนที่คิดว่าคู่แข่ง หรือตัวเขาเอง bluff บ่อยแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงพวกเขา bluff ไม่บ่อยพอต่างหาก และบางครั้งคนพวกนี้ก็มักจะ bluff อย่างไม่เหมาะสมด้วย

เรื่องจริงที่เกี่ยวกับการ bluff ก็คือ : ถ้าไม่ bluff เราต้องมีแฮนด์ที่ strong พอเพื่อชนะ pot และที่จริงคือต้องเป็นแฮนด์ที่ strong ที่สุด แต่มันไม่ง่ายที่จะมีแฮนด์แบบนั้นบ่อยๆในเกม No Limit Hold’em เพราะแฮนด์ส่วนใหญ่จะไม่ติด flop และแม้แต่แฮนด์ที่ strong ที่สุดตอน preflop ก็สามารถ weak มากๆตอน river ได้เช่นกัน

จากเหตุผลดังกล่าว การ bluff จึงเป็นส่วนสำคัญของเกม ถ้าเราไม่ bluff เลย โป๊กเกอร์จะไม่ใช่แค่เกมที่น่าเบื่อ แต่จะเป็นเกมที่เราไม่สามารถชนะได้ สมมติว่าคู่แข่งเป็นคนที่ระมัดระวังมาก พวกเขาก็จะปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อ exploit การเล่นในสไตล์ที่พึ่งพาแฮนด์ที่ strong มากเกินไป ซึ่งก็คือการเล่นที่ไม่สมดุล โดยไม่มี bluff อย่างเหมาะสมเพียงพอ

”ถ้าเราไม่ bluff เลย โป๊กเกอร์จะไม่ใช่แค่เกมน่าเบื่อ แต่จะเป็นเกมที่ชนะไม่ได้” – Doug Polk จากบทความ : https://bit.ly/bluffin-w-doug

ดังนั้น มาเริ่มกันที่กฎทั่วไปเกี่ยวกับการ bluff :

bluff ช่วงแรกให้บ่อย และลดลงใน street หลังๆ

เหตุผลเบื้อหลังกฎนี้นั้นเรียบง่าย ในมุมของ equity vs. calling range ของคู่แข่ง โดย bluffing range ของเราจะ strong ที่สุดตอน preflop แต่ equity จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อการเล่นผ่านไป (ถ้าแฮนด์ไม่พัฒนา)

ตัวอย่างเช่น suited connector อาจจะมี equity ประมาณ 30-40% ตอน preflop เจอกับแฮนด์ส่วนใหญ่ที่คู่แข่งจะเล่นต่อ เราสามารถเล่นแฮนด์ที่ “weak” เหล่านี้ ควบคู่ไปกับ strong hand แต่เรามักจะ raise เพื่อ value ได้ แต่เมื่อยิ่งใกล้ river bluffing range ของเราจะยิ่งมี equity น้อยลงเมื่อเจอกับแฮนด์ของคู่แข่งที่ยังเล่นต่อมาได้ ดังนั้นเราจึงควร bluff ให้น้อยลงใน street หลังๆ

เหตุผลนี้ยิ่งเด่นชัดตอน river ถ้าเราตัดสินใจที่จะ bet ที่ river เราต้องรู้ตัว และชัดเจนกับตัวเองว่าเรา bet เพื่อ bluff หรือ value กันแน่

โดยทั่วไปแล้ว ถ้าแฮนด์ของเรามี equity พอที่จะสู้กับแฮนด์ของคู่แข่งที่ call มาได้ เราก็ ไม่สมควรควร ที่จะ bluff หรือแปลว่า ถ้าเราคิดว่าคู่แข่ง call มาด้วยแฮนด์ที่แย่กว่าเรา การ bluff ที่ river ก็อาจจะเป็นการเล่นที่แย่

การคำนวณ pot odds ที่เรา bet ให้กับคู่แข่งเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงเช่นกัน ถ้าเราตัดสินใจจะ bluff เพราะนี่จะเป็นการกำหนดความถี่ที่เหมาะสมที่เราควรจะ bluff 

ตัวอย่างเช่น สมมติเรา bet $100 ไปใน pot $100 ทำให้คู่แข่งมี pot oddst 2:1 ที่จะ call (คู่แข่งต้อง call $100 เพื่อชนะ pot $200) นั่นหมายความว่า เราต้องมี bluff 1 ใน 3 ครั้ง เพื่อให้คู่แข่งไม่รู้สึกแตกต่างที่จะ call เช่น ถ้า range ของเรามี 30 แฮนด์คอมโบ ที่เป็น value bet เราต้องมี 15 แฮนด์คอมโบที่เป็น bluff เพื่อให้เกิดสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด

หลักการก็คือ range ของแฮนด์ที่เรา bet นั้น จะได้กำไร เมื่ออัตรา value-bet : bluff ของเรา ตรงกับสัดส่วนของ pot odds ของคู่แข่งเราพอดี 

(2 value bet ต่อ ทุกๆ 1 bluff) ผลที่ตามมาคือ การเล่นของเราจะไม่สามารถถูกคู่แข่ง exploit ได้ เพราะไม่ว่าคู่แข่งจะ call หรือ fold เราก็สามารถทำเงินได้ทั้ง 2 กรณี

คำแนะนำ : อ่านบทความนี้ ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับหลักการข้างต้น

แน่นอนว่า มันไม่ได้บอกอย่างชัดเจนว่า แฮนด์ไหนที่เราควรจะเอามา bluff ในจังหวะไหนบ้าง การ bluff ต้องมีการคิดล่วงหน้า มันไม่ใช่แค่ว่าเราจะ bet โดยที่ไม่มี equity เมื่อเรา รู้สึก ว่ามันน่าจะ bet แต่เราต้องวางแผนล่วงหน้าในทุกแฮนด์ตั้งแต่ preflop เป็นต้นไป คิดให้ดีว่าจะพัฒนาแฮนด์อย่างไร รวมถึงการปรับการเล่นในแต่ละ street ด้วย

ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติเรา bet ที่ flop Q♠ J♦ 2♣ ตรงนี้เรา bluff กับหลายๆแฮนด์ (หรือ ‘semi-bluffs’ ก็แล้วแต่) ที่สามารถพัฒนาเป็น value hand ในภายหลังได้ หรือพวก Backdoor flush draw, straight draw อย่าง K-T หรือ T-9, หรือแม้แต่ A-T ที่เหมาะจะ bet เป็น bluff ที่ flop แน่นอนว่า ถึงแม้จะพัฒนาไม่ได้ แต่บางแฮนด์เหล่านี้ ก็ยังเหมาะที่จะ bluff ที่ turn หรือ river ต่อได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องยากที่เราจะตัดสินใจว่าควรใช้แฮนด์ไหนในการ bluff ดี  ตัวอย่างเช่น flop K♦ 7♣ 2♠ ที่ต้องคิดนิดหนึ่ง และต้องอาศัยความกล้า ถ้าเราตัดสินใจจะเล่นต่อด้วยการ bluff แฮนด์อย่าง A high หรือ backdoor flush draw ดูจะสมเหตุผลที่จะ bluff มากที่สุด แต่มีโอกาสน้อยที่จะพัฒนา มากกว่าตัวอย่างที่แล้ว และอาจจะไม่มี showdown value พอ ที่ river ดังนั้น เราต้องเล่นด้วยความระมัดระวัง โดยจำกฎทั่วไปที่เราพูดถึงไว้ให้ดี (bluff ช่วงแรกให้บ่อย และลดลงใน street หลังๆ)

ในบางสถานการณ์ที่ผู้เล่นส่วนใหญ่มีปัญหา เมื่อ check ที่ flop แล้วมา bet ที่ turn ในสถานการณ์แบบนี้ให้จำไว้ว่า ถ้าเรายังพอมี value hand เราก็ยังสามารถ bluff ได้บ้าง โดยมีเป้าหมายคือ หาบาลานซ์ให้เจอ การจะหาว่าแฮนด์ไหนควรเป็น bluff หลังจาก check ที่ flop เราต้องคิดถึงว่า value hand ที่เป็นไปได้ ทั้งหมด ที่เราจะ check back ที่ flop แล้วมา bet ที่ turn ตัวอย่างเช่น ใน K♦ 7♣ 2♠ board เราจะ check back ที่ flop กับ K ไหม? หรือเราอาจจะไม่ติดอะไรที่ flop แล้วมา bet ที่ turn เมื่อแฮนด์เราไม่พัฒนาดี? หรือบางที เราอาจจะมีแฮนด์อย่างคู่สิบ แล้วค่อยมา value bet ที่ turn แทน

ทุกสถานการณ์นั้นแตกต่างกัน แต่เมื่อการ bluff เป็นทางเลือกหนึ่ง เราก็ควรจะหยุดคิดให้ดี และนึกถึงกฎของการใช้ bet size และ equity ที่เราพูดถึงกันไปในวันนี้

”ความผิดพลาดที่ผมเห็นคนส่วนใหญ่ทำเวลา bluff คือการปล่อยใหญ่ความกลัวครอบงำจนไม่กล้าเหนี่ยวไก” – Doug Polk กล่าวไว้ในบทความนี้ : https://bit.ly/bluffin-w-doug

จริงอยู่ที่ว่าบาง bluff ก็ไม่ดูไม่น่าทำแบบโง่ๆแบบนั้น

แต่ถึงแม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเราควรจะ bluff ผู้เล่นส่วนใหญ่ก็ไม่กล้า bluff มากพอ พวกเขาไม่ยอมกดดันให้คู่แข่งอยู่ในสถานการณ์ที่ตัดสินใจลำบาก ทำให้ต้องทิ้งเงินไว้บนโต๊ะหลายครั้ง

สรุปความคิด

อย่ากลัวที่จะ bluff! เมื่อเราทำอย่างเหมาะสม การ bluff จะมีกำไร และเป็นส่วนหนึ่งของสไตล์การเล่นที่สมดุลรอบด้าน

https://upswingpoker.com/bluffing-in-poker-explained/