5 คำถามที่ควรถามตัวเองทุกครั้งที่เล่น postflop

อยากจะเล่นกับ range ของคุณหลังเปิด flop ได้อย่างโปรหรือไม่?

ในบทความนี้ จะครอบคลุมเกี่ยวกับคำถาม 5 ข้อ ที่นักเล่นโป๊กเกอร์ระดับโปรจะถามตัวเองเสมอเวลาที่ต้องตัดสินใจ

เพื่อช่วยในกระบวนการเรียนรู้ ผมจะใช้โปรแกรมที่ใช้ง่ายตัวใหม่ที่ชื่อว่า PokerRanger 2 ที่จะมีรูปแบบการใช้งานอันทรงพลังหลายอย่างในการช่วยวิเคราะห์แฮนด์ (ที่คุณกำลังจะได้เห็น)

เสริม : ถ้าคุณต้องการลองใช้ PokerRanger 2 ฟรี ลองใช้โปรแกรมทดลองฟรี 21 วัน ได้ที่นี่ ที่ผมอยากแนะนำให้คุณลองใช้ดูก่อน

สามารถศึกษาเนื้อหาของบทความนี้ในรูปแบบวิดีโอได้จากโค้ชของ Upswing อย่าง  Gary Blackwood หรืออ่านบทความนี้ต่อได้ถ้าคุณถนัดแบบนี้

มาเข้าสู่เนื้อหากัน!

คำถามที่ #1: เรามี range advantage หรือไม่?

Range advantage โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงการที่ range ของผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมี equity มากกว่า ใน pot หนึ่งๆ

โดยปกติแล้ว preflop raiser จะมี range advantage มากกว่าใน flop ส่วนใหญ่ จากการที่มีโอกาสที่จะมีแฮนด์ใหญ่ๆอยู่อย่างหนาแน่นใน range มากกว่า แต่ไม่ใช่ทุกกรณีกับทุก flop

เพื่อที่จะตรวจสอบว่า flop แบบไหนเข้าทางคนไหนมากกว่า เราสามารถใช้เครื่องมืออย่าง PokerRanger 2 ในการคำนวณ equity ของ range ของผู้เล่นแต่ละคนจากแฮนด์ที่กำหนดได้

ลองดูตัวอย่าง flop ที่แตกต่างกัน 2 flop

ในแต่ละตัวอย่าง สมมติตอน preflop ให้ BTN raise 2.25bb และ BB (มี stack 100bb) call มา โดยเราใช้ range ของผู้เล่นทั้ง 2 คนจาก  Advanced Solver Ranges ของ Upswing Lab 

คลิกที่นี่ เพื่อดู range ของ BTN (สีแดง = raise) และ คลิกที่นี่ เพื่อดู range ของ BB (สีเขียว = call)

Flop ที่ #1: A♦ J♥ 6♣

มาลองเปรียบเทียบ range กับ board ที่หนักไปทาง high-card กันดูก่อน :

poker ranger range advantage calculation

การประเมิน equity และโอกาสการติด board โดยใช้ PokerRanger 2 คลิกที่นี่ เพื่อขยายภาพ

บน flop A-J-6 นี้ BTN จะมี equity 56% ขณะที่ BB จะมี 44% ซึ่งดูเหมือน equity จะไม่ได้แตกต่างกันมากขนาดนั้น แต่ในความเป็นจริงความแตกต่างกันที่ 12% นั้นค่อนข้างมีผลอย่างมาก เพราะเราจะหา board ที่ BTN มี equity มากกว่า 56% ได้ค่อนข้างยาก

การมี equity advantage ที่ต่างกันมาก ก็จะส่งผลต่อกลยุทธ์การเล่นที่ optimal ของแต่ละคนอย่างมากด้วยเช่นกัน :

  • BB ไม่สามารถ lead ก่อนอย่างมีกำไรได้
  • BTN จะสามารถ c-bet ได้บ่อยมากๆ

ทีนี้มาลองดู board ที่ equity ใกล้เคียงกันบ้าง

Flop ที่ #2: 753♠

range เหมือนก่อนหน้านี้ และนี้แสดงถึงความเชื่อมโยงของ range กับ board ที่ไพ่ต่ำกว่ามาก :

range advantage calculation 7-5-3 button vs big blind

การประเมิน equity และโอกาสติด board โดยใช้ PokerRanger 2 คลิกที่นี่ เพื่อขยายภาพ

บน flop 7-5-3 นี้ จะเห็นได้ว่า BB จะมี equity advantage สูงกว่าอยู่นิดหนึ่ง คือ 50.01% ต่อ 49.99% ทำให้ range ต่อสู้กันอย่างดุเดือด โดยที่มีความแตกต่างกันน้อยกว่า 1% 

นั่นทำให้ส่งผลต่อกลยุทธ์ของผู้เล่นทั้ง 2 คนได้ 2 ทางหลักๆ คือ :

  • (ในทางทฤษฎี) BB จะสามารถ lead ได้ก่อนนิดหน่อย.
  • BTN ควร check back บ่อยๆ มากกว่าจะ c-bet 

ข้อมูลเสริมที่สำคัญ : นี่อาจจะเป็น board ที่ดีที่สุดเท่าที่ BB จะเจอได้ มีเพียงบางสถานการณ์ที่ BB จะมี equity มากกว่า 50% บน flop เมื่อเจอกับ preflop raiser

ข้อคิดสำคัญที่ได้จากคำถามที่ #1: ยิ่งเรามี range advantage มากเท่าไหร่ เรายิ่งสามารถ c-bet ที่ flop เมื่อเรา in position ที่เป็น preflop raiser ได้บ่อยขึ้นเท่านั้น

คำถามที่ #2: เรามี nut advantage หรือไม่?

ผู้เล่นที่มี nut advantage จะมีสัดส่วนของแฮนด์ที่แข็งแกร่งสูงกว่า เมื่อเทียบกับคู่แข่ง อะไรที่เป็น “แฮนด์ที่แข็งแกร่ง” นั้นขึ้นอยู่กับ board texture แต่ส่วนใหญ่คือ 2 pair ขึ้นไป

ถ้าผู้เล่นฝ่ายไหนมีแฮนด์ที่เป็น nut ที่เป็นสัดส่วนที่มากกว่าคู่แข่ง ผู้เล่นคนนั้นจะสามารถใช้ bet size ที่ใหญ่ขึ้น (หรือแม้แต่ overbet) เพื่อใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบนี้ได้ รวมถึงมีโอกาสที่จะ bet ได้ถี่ขึ้น อีกด้วย

มาดูใน PokerRanger 2 เพื่อทำให้เห็นภาพของหลักการของ nut advantage กันอีกครั้ง

ใช้ range และสถานการณ์เหมือนคราวก่อน : BTN raise 2.25bb และ BB call flop แรกเปิดออกมาเป็น…

Flop #1: AA♥ K♠

เราอาจจะเริ่มรู้แล้วว่าใครจะมีแฮนด์ที่แข็งแกร่งมากๆ มากกว่ากันใน board นี้ แต่มาลองทำให้เห็นภาพกันด้วยเครื่องมือการประเมินค่าของการติด board ใน  PokerRanger 2 ดังนี้ :

nut advantage comparison on aak

การประเมินค่าของการติด board ใน PokerRanger 2 

มันโชว์ว่า ใน range ของ BTN จะมีอยู่ 18.36% ที่อยู่ในกลุ่มแฮนด์ที่ แข็งแกร่งมากๆ เปรียบเทียบกับ BB ที่มีอยู่ 12.38% และ BTN ยังมีความได้เปรียบในแฮนด์กลุ่ม แข็งแกร่ง อีก 31.4% เทียบกับ 24.83% ของ BB (ลองดูในส่วนที่เขียนว่า Made Hands ในภาพ เพื่อดูรายละเอียดของประเภทแฮนด์) 

นอกจากนั้น BTN ยังมี equity advantage อย่างมหาศาลที่ board นี้ โดยรวมถึง 56.62% (ไม่อยู่ในรูป) PokerRanger ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้เล่นทั้งคู่มีแฮนด์ระดับกลางและ draw ในสัดส่วนที่เหมือนกัน

มีเหตุผล 2 ข้อที่ของความแตกต่างอย่างมหาศาลนี้ :

  • BB ไม่มีทางมี quads หรือ full house เพราะเขาต้อง 3-bet preflop ด้วย AA หรือ AK ไปแล้ว
  • BTN มีแฮนด์ Ax ในมือมากกว่า โดยเฉพาะกลุ่มที่แข็งแกร่ง (เช่น AQ/AJ) ที่ BB ต้อง 3-bet preflop 

ทีนี้ลองดู board ที่ BTN ไม่ได้มีความได้เปรียบอย่างชัดเจนดูบ้าง

Flop #2: 6♥ 4♠ 2♣

เป็น board ที่มีการต่อสู้อย่างสูสีมากกว่า ลองดูจากภาพ :

nut advantage comparison on 642

การประเมินค่าของการติด board ใน PokerRanger 2 

คราวนี้ BB จะมีแฮนด์ที่ แข็งแกร่งมากๆ เป็นสัดส่วนที่สูงกว่า คือ 2.66% เทียบกับ BTN ที่มี 1.7% แต่เมื่อดูที่กลุ่มแฮนด์ที่ แข็งแกร่ง สัดส่วนจะมีความใกล้เคียงกันอย่างมาก คือ BB มี 17.46% ขณะที่ BTN มี 17.41%

ส่วนการคำนวณ equity ที่ไม่ได้อยู่ในรูปนั้น บ่งบอกว่า BTN จะมี equity 50.23% เทียบกับ BB ที่มี 49.77%

ซึ่งผลจากการวิเคราะห์รายละเอียดของความได้เปรียบใน board นี้ ได้แนะนำกลยุทธ์สำหรับผู้เล่นแต่ละคนเอาไว้ ดังนี้ :

  • BTN ควรใช้ขนาด c-bet ที่เล็กลงใน board นี้ เมื่อโดน check มา
  • BB สามารถ check-raise ได้บ่อยขึ้น (หรืออาจจะ lead ได้บางครั้งเช่นกัน)

ข้อคิดสำคัญที่ได้จากคำถามที่ #2: ยิ่งเรามี nut advantage มากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถ bet ได้ใหญ่ขึ้นเท่านั้น เมื่อเรา in position โดยเป็น preflop raiser และเมื่อเรา out of position โดยเป็น preflop caller ก็ยิ่งสามารถ check-raise ได้บ่อยขึ้น ถ้าเรามี nut advantage สูงขึ้น

คำถามที่ #3: เรากำลัง in position หรือ out of position?

นี่อาจจะเป็นหลักคิดทางกลยุทธ์อย่างแรกที่เราได้เรียนมาในโป๊กเกอร์ ดังนั้นผมจะไม่อธิบายเยอะในส่วนนี้

ตำแหน่ง ของเราเทียบกับของคู่แข่งจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับกลยุทธ์ของเรา การ in position จะทำให้เราได้เปรียบอยู่ 2 เรื่องหลักๆ :

  1. ผู้เล่นที่ in position มีทางเลือกที่จะ check back เพื่อ realize equity ได้แบบฟรีๆ
  2. ผู้เล่นที่ in position จะมีข้อมูลมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับเกมที่มีข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์ เช่นเกมโป๊กเกอร์

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรา out of position เราจะเป็นฝ่ายที่ต้องอาศัยความเมตตาของคู่แข่งที่เรา in position แทน

สรุปกว้างๆก็คือ ผู้เล่นที่ out of position (ถึงแม้จะเป็น preflop raiser) ควรจะเล่นกลยุทธ์ในเชิงป้องกันให้มากขึ้น แต่ก็มีข้อยกเว้นหลายข้อสำหรับกฎนี้ ซึ่งมันอยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้

อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ : วิธีทำเงินให้มากขึ้นด้วยการ C-Bet ที่ flop เมื่อเรา In และ Out of Position

คำถามที่ #4: stack-to-pot ratio คือเท่าไหร่?

ลองมาเล่นเกมนี้กันก่อน

สมมติว่าคู่แข่งของเรา open-shove ที่ flop ด้วย 97bb ใน pot ที่มีอยู่ 6bb และเราถือ bottom set โดยที่ยังไม่มีโอกาสติด straight หรือ flush

เราคงยินดีที่จะ call ใช่ไหม?

ที่นี้สมมติว่าเรากำลังมี deep stack และก็ติด bottom set ที่ flop เหมือนเดิม (ยังไม่มีโอกาสติด straight หรือ flush) เรารู้สึกเยี่ยมมาก จนกระทั่งคู่แข่ง shove มา 397bb ใน pot ที่มีแค่ 6bb

ผมคิดว่าเราคงไม่ได้ยินดีที่จะ call แฮนด์นี้เท่ากับในสถานการณ์แรก

เหตุผลเบื้องหลังความยินดีที่ลดลงนี้ก็มาจากหลักการเรื่อง stack-to-pot ratio (SPR) นั่นเอง

เมื่อคู่แข่งเรายอมเสี่ยงเงิน 16 เท่าของ pot แบบในสถานการณ์แรก set ที่แข็งแกร่งมากๆของเรายังทำให้เรารู้ว่าน่าจะเป็น nut ได้ แต่เมื่อเขายิงมาถึง 397bb ใน pot ที่มีแค่ 6bb (66 เท่าของ pot) ความแข็งแกร่งของ bottom set เราอาจจะลดถอยลงทันที

พูดง่ายๆก็คือ SPR จะส่งผลต่อระดับสูงสุดของความแข็งแกร่งของแฮนด์ โดยพิจารณาจากขนาดของ stack ที่เรายอมเสียได้ ยิ่งมีค่า SPR สูงเท่าไหร่ เรายิ่งต้องการความแข็งแกร่งของแฮนด์สูงขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่เสียเงินใน stack เมื่อแฮนด์นี้สิ้นสุดลง

ข้อคิดสำคัญที่ได้จากคำถามที่ #4 : โดยทั่วไปแล้ว ยิ่ง SPR มีค่าน้อย เรายิ่งควรเล่นให้ aggressive ขึ้น และเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม แน่นอนว่ามันอาจจะไม่จริงทุกกรณี แต่ก็ถือเป็นคำแนะนำทั่วไปที่ใช้ได้ดี

อ่านเพิ่มเติมได้จากบนความ : ตัวอย่างแฮนด์ 3 กลุ่มที่แสดงถึงความสำคัญของ Stack-to-Pot Ratio.

คำถามที่ #5: นี่คือ heads-up pot หรือ multiway pot?

Multiway pot นั้นมีแนวทางการเล่นที่แตกต่างจาก heads-up pot อย่างมาก

ยิ่งมีหลาย range เข้ามาเล่นมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสที่ใครคนใดคนหนึ่งจะมีแฮนด์ที่แข็งแกร่งมากๆ สูงขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง value range ของเราจะมี equity ลดลงอย่างมาก เมื่อต้องสู้กับผู้เล่นมากกว่า 2 คนขึ้นไป รวมถึง bluffing range ของเราก็อ่อนแอลงด้วยเช่นกัน

range ทั้ง 2 ประเภทจะอ่อนแอลงอีกเมื่อมีปัจจัยด้านลบเพิ่มเข้ามา เช่น การ out of position ที่อาจจะต้องเล่นง่ายๆด้วยการ check กับ range ทั้งหมดบ่อยๆ โดยสรุปคือ เราต้องเล่นในเชิงป้องกันให้มากขึ้นใน multiway pot โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้อง out of position

แต่อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่กรณีที่เรา in position แม้จะเจอผู้เล่น 2 หรือ 3 คน เรายังคงควรจะ bet กับบางแฮนด์เมื่อเรามีความได้เปรียบในเรื่องของตำแหน่ง เพียงแค่เราไม่ทำบ่อยเท่าเวลาเล่น heads-up pot แค่นั้น

ข้อคิดสำคัญที่ได้จากคำถามที่ #5: เล่นในเชิงป้องกันให้มากขึ้นใน multiway pot เมื่อเทียบกับ heads-up pot เมื่อเรา out of position

สรุปเนื้อหา

โดยสรุปแล้ว เรามีปัจจัยเชิงบวกบางข้อ (ที่ทำให้เล่นได้ aggressive ขึ้น) เช่นการมี range advantage, nut advantage, ค่า SPR ที่ต่ำ, เล่น heads-up pot, และ in position และมีปัจจัยเชิงลบบางข้อ เช่น การมี range disadvantage, nut disadvantage, ค่า SPR ที่สูง, ต้องเล่น multiway pot, และต้อง out of position

เราคุณอยากทดลองเล่นPokerRanger 2 ด้วยตัวเอง อย่าลืม ลองใช้โปรแกรมทดลองฟรี 21 วัน ได้ที่นี่

https://upswingpoker.com/questions-to-ask-yourself-postflop/