ผู้เล่นระดับโลกจะ overbet turn เมื่อไหร่ (และทำไม)

ผมคิดว่าเราคิดตรงกันว่า ไม่มีอะไรในโป๊กเกอร์ที่เซ็กซี่ไปกว่าการ overbet ใหญ่อีกแล้ว 

นับตั้งแต่มีการเล่น high stake ออนไลน์กันในวันแรกๆ การเล่น overbet กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาเพราะตำนานออนไลน์อย่าง Tom Dwan และ Dan “Jungleman” Cates

กลยุทธเบื้องหลังการ overbet นั้นไม่ชัดเจนเท่าไหร่ เมื่อมันเริ่มเป็นที่นิยมในตอนแรกๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าผู้เล่นที่มีพรสวรรค์ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงการ overbet ใหม่ ให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น

พอมาถึงยุคใหม่ที่เป็นยุคแห่งการใช้ solver ช่วยคำนวณ Upswing ได้สร้างกลยุทธ์จากการ overbet ที่ optimal (ดี/เหมาะสมที่สุด) แล้ว ให้ไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไปอีก โดยโค้ช Daniel “dougiedan678” McAulay ที่สอนไว้ในหัวข้อบทเรียน “การ overbet เมื่อต้อง cbet ช่วง turn”

ในส่วนถัดไป ผมจะพูดถึงคำถามแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ เกี่ยวกับการ overbet turn

  • ทำไมเราถึง overbet?
  • เราควร overbet เมื่อไหร่?
  • เราควร overbet เท่าไหร่?

1. ทำไมเราถึง overbet?

นี่คือข้อดีของการ overbet turn

  • เราได้ value มากขึ้นจาก strong hand ของเรา
  • เราต้อง bluff ในสัดส่วนที่มากขึ้นของ range ของเรา 
  • เราบังคับให้คู่ต่อสู้ต้อง fold มากขึ้น หรือคือการทำให้เขา realize equity ได้น้อยลง
  • มันทำให้คู่แข่งลังเลที่จะ raise เมื่อเจอ overbet (ซึ่งถือว่าถูกในมุมของเขา) ทำให้เรา realize equity ได้มากขึ้น เพราะมันทำให้เราแทบจะได้เห็น river ได้เกือบตลอดขณะที่เรา IP และมันยังทำให้เราสามารถควบคุมขนาดของ pot เมื่อไปถึง river ได้ 

2. เราควร overbet เมื่อไหร่?

บางครั้งเหตุผลที่เรา overbet ก็อาจจะเป็นไปตามสัญชาตญาณ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับหลายคนมากกว่าก็คือ เราควรจะ overbet เมื่อไหร่ และเท่าไหร่

จะมีอยู่ 3 สถานการณ์ด้วยกันที่เหมาะกับการ overbet 

  1. เมื่อเรามี nut advantage (เรามี strong hand กว่าคู่แข่งเรามากๆ)
  2. เมื่อ range ของคู่แข่งเราถูก capped (แปลว่า เขาไม่มี หรือมีโอกาสที่จะมี strong hand น้อย)
  3. เมื่อไพ่ที่ออกช่วง turn หรือ river เป็นไพ่ brick (ไพ่ที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องใดๆกับ board ที่อาจจะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพัฒนา hand ได้)

ตัวอย่างสถานการณ์ที่ 1 :

เราอยู่ BTN เจอกับ BB ใน pot ที่มีคน raise คนเดียว flop ออกมาเป็น  A♣ K♥ 6♦ เรา cbet และโดน call turn ออกมาเป็น 2♣

ในกรณีนี้ ผู้เล่นทั้ง 2 คนมีโอกาสพอๆกันที่จะมี hand อย่าง A6, K6, 66 หรือ A2 แต่ในเมื่อ BB ไม่ได้ 3bet preflop เรารู้อยู่แล้วว่าเขาไม่มี strong hand (AA, KK และ AK) อย่างแน่นอน ขณะที่เราสามารถมี hand พวกนี้ได้ใน range ของเรา รวมถึงมีโอกาสมี 22 อยู่ 3 คอมโบ ที่จะติด set ตอน turn

เหตุผลเหล่านี้ทำให้เรามีมี nut advantage เหนือคู่แข่งของเราได้และเป็น spot ที่ดีที่จะ overbet

ตัวอย่างสถานการณ์ที่ 2 :

เราจะเอา hand จากในสถานการณ์ที่ 1 มาใช้ในสถานการณ์นี้ต่อ แต่มาเจาะลึกกันให้มากขึ้น

ปกติแล้วตอน flop ผู้เล่นมักจะ check-raise กับ hand ที่เป็น top range ของตัวเอง ซึ่งทำให้เป็นการเปิดเผยว่า range อาจจะถูก capped เมื่อถึง turn

มาดูบอร์ด  A♣ K♥ 6♦ 2♣ กันอีกครั้ง เรารู้แล้วว่า ตอนนี้เรามี nut advantage แต่มากไปกว่านั้น เรายังสามารถประเมินได้อีกว่าถ้าคู่แข่งมี hand ที่ strong ที่สุดใน range (เช่น 66) มักจะต้อง check-raise ตอน flop 

สมมติว่าเรารู้ว่าคู่แข่งเราจะ check raise 66 รวมถึง 2 pair ส่วนใหญ่ตอน flop ดังนั้นในกรณีนี้  hand ที่ดีที่สุดที่เขามีโอกาสจะมีได้ หลังจากแค่ check-call จะถูก capped ให้เหลืออยู่แค่ A2 ซึ่งน่าจะเหลือคอมโบเป็นจำนวนเลขคี่เท่านั้น 

ถ้าเป็นแบบนี้ เราสามารถเล่นใหญ่ได้ ด้วยการ overbet turn ทั้ง hand ที่มี value และ bluff ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างแรงกดดันสูดสุดให้คู่แข่งของเราได้

ตัวอย่างสถานการณ์ที่ 3 :

จากกรณีทีเ่รา overbet turn ที่ไพ่ออกมาเป็น brick มาลองเปลี่ยน board เป็น 7♥ 4♦ 2♠ และมี Q♣ ตกที่ turn ดู

เรามักจะเอาแนวคิดเกี่ยวกับไพ่ brick ตอน turn มาใช้ในสถานการณ์แบบนี้ ที่ flop เป็นไพ่ต่ำเกือบหมด และ turn ออกมาเป็นไพ่ใหญ่ ที่ไม่น่าจะทำให้คู่แข่งเรามีคอมโบ 2 pair ได้

เนื่องจากคู่แข่งเราน่าจะต้อง fold hand อย่าง Q7o, Q4o หรือ Q2o ตอน preflop ดังนั้น Q♣ จึงถือเป็นไพ่ brick สำหรับเขา แม้เขาอาจจะมีคอมโบไพ่ suit อย่าง Q♠ 4♠ แต่ก็มีโอกาสค่อนข้างน้อยที่มันจะอยู่ใน range ของเขา

ขณะเดียวกันในจุดนี้ เราก็สามารถมองในมุมที่ว่า Q♣ สามารถช่วยพัฒนา range เราได้เหมือนกัน เพราะเรามีโอกาสมี Qx ที่เป็น overcard ได้หลาย hand ที่สามารถ bet flop ได้ (เช่น QJ / QT) นอกเหนือจาก value hand ที่ไม่ได้เล่นก่อน turn เช่น (KK / 22)

ไม่ว่าเราจะมองมุมไหน นี่ก็คืออีกหนึ่งจุดที่ดีที่จุด overbet 

3. เราควร overbet เท่าไหร่?

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้เล่นเก่งมักจะ overbet กันโดยมี range ของ size อยู่ในช่วงประมาณ 125-300% ของ pot หรือบางครั้งก็อาจจะมากกว่านั้น

การลงลึกถึง bet size แต่ละขนาด อาจจะอยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้เกินไป แต่เราก็มีคำแนะนำพื้นฐานสำหรับการเลือกขนาดว่าจะ bet เท่าไหร่ไว้ดังนี้ :

  • ยิ่งเรามี nut advantage มากเท่าไหร่ ยิ่งสามารถ overbet ได้มากเท่านั้น
  • ในบอร์ดที่มีแค่เราที่สามารถมี nut ได้ ตามทฤษฎีแล้วเราสามารถ bet all-in ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงขนาดของ stack (ถึงแม้ต่อให้มากกว่า pot 10 เท่าก็ตาม)
  • ขนาดของ overbet turn ที่เหมาะสมที่สุด ขึ้นอยู่กับ board texture เป็นสำคัญ
    • บอร์ด A-high, Broadway (มีแต่ไพ่ใหญ่), ไพ่กลางๆ, pair (มีไพ่เบิ้ล), หรือ monotone (ดอกเดียวกันหมด) มีโอกาสที่จะมี bet size ที่เหมาะสมที่สุดได้หลายขนาด

คำแนะนำเบื้องต้นเหล่านี้จะสามารถช่วยให้เราทำเงินจาก overbet ได้อย่างแน่นอน

บทสรุป

ผมอยากเน้นย้ำอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายว่า เราเพิ่งพูดถึงเรื่องการ overbet ได้แค่ผิวเผินในบทความนี้ มันยังมีหลักการที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้อีกมากมาย เช่น range construction, blocker, การ bet ที่ river หลังจาก overbet turn เป็นต้น

https://upswingpoker.com/overbet-the-turn/