Polarized และ Linear (Merged) Range ใช้อย่างไร

ถ้าเราศึกษาโป๊กเกอร์มาได้สักระยะ เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Polarized” และ “Linear” เมื่อพูดถึงเรื่อง range กันมาบ้าง

ทั้ง 2 อย่างคือแนวคิดที่สำคัญสำหรับคนที่ต้องการเอาชนะในเกมโป๊กเกอร์ ในบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้เพื่อที่จะตอบคำถามเหล่านี้ :

  • Range คืออะไร?
  • Polarized Range คืออะไร?
  • Linear (หรือ Merged) Range คืออะไร?
  • เมื่อไหร่ที่ Range เราควรจะ Polarized?
  • เมื่อไหร่ที่ Range เราควรจะ Linear?

ไม่ว่าเราจะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่ต้องการเรียนรู้เนื้อหาขั้นพื้นฐาน หรือเป็นผู้เล่นที่มีประสบการณ์แล้วที่ต้องการรื้อฟื้นความรู้ ผมเชื่อว่าเราจะได้ประโยชน์จากการอ่านเรื่องต่อไปนี้อีก 5 นาที

โน้ตไว้ว่า ผมจะพูดถึง preflop แค่สั้นๆ แต่จะเน้นย้ำในประเด็นที่ว่าประเภทของ range ต่างๆเหล่านี้จะใช้ตอน postflop อย่างไร

ก่อนที่ผมจะลงลึกเกี่ยวกับ range ทั้งสองประเภทนี้ เราต้องมาเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า range ในโป๊กเกอร์นั้นหมายถึงอะไร

Range คืออะไร?

range ก็คือ จำนวน hand ทั้งหมดที่ผู้เล่นคนหนึ่งจะมีได้ ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าผู้เล่นที่ tight มากๆคนหนึ่ง 4bet ตอน preflop และเรารู้จักผู้เล่นคนนี้ดีพอว่าเขาน่าจะเล่นแบบนี้แต่กับเฉพาะ premium hand เช่น คู่ควีน, คู่คิง หรือ คู่เอซ

กลุ่มของ hand พวกนั้นคือ range ของผู้เล่นที่ tight คนนี้ ซึ่งสามารถเขียนเป็นตัวย่อได้เป็น QQ+ หรือ AA, KK, QQ.

การวิเคราะห์ในรูปแบบของ range คือวิธีที่ผู้เล่นโป๊กเกอร์มืออาชีพใช้กัน มากกว่าจะประเมินการเล่นของคู่แข่งว่าเป็น hand ใด hand หนึ่ง 

Polarized (ขั้ว) Range คืออะไร?

polarized range คือ range ที่ประกอบไปด้วยไพ่กลุ่ม strong hand และกลุ่มที่ค่อนข้างจะเป็น weak hand โดยที่ไม่มี กลุ่มที่เป็น medium-strength hand (hand ที่มี value กลางๆ) อยู่เลย

นี่คือตารางตัวอย่างของ polarized preflop range

polarized preflop range

สีแดง = Raise | สีฟ้า = ไม่มีอยู่ใน range

จะเห็นได้ว่า range นี้ประกอบไปด้วยประเภทของ hand ที่แตกต่างกันสองขั้ว คือ ฝั่งที่เป็น strong hand มากๆ (JJ+, AK) และฝั่งที่เป็น hand ที่ค่อนข้าง weak (A2s-A5s)

Linear Range คืออะไร?

linear range คือ range ที่ประกอบไปด้วยกลุ่ม hand ที่ทั้ง stong, medium-strength, และ weak หรือเรียกได้อีกอย่างว่า merged (รวม) หรือ condensed (กระจุก) range เนื่องจาก linear range จะมีกลุ่ม hand ที่ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ฝั่งหนึ่งของตาราง hand matrix เมื่อแสดงออกมาเป็นภาพ

ลองดูจากตัวอย่างของ CO open-raising range จาก Advanced Solver Ranges ของ the Upswing Lab

linear merged range

สีแดง = Raise | สีฟ้า = Fold

ไม่มีลักษณะของความเป็นขั้วตรงข้ามใน range นี้ เพราะจะเห็นได้ว่า range นี้ประกอบไปด้วย

  • Strong hand (เช่น AA or AQs)
  • Medium-strength hand (เช่น 88 หรือ KJs)
  • weak hand หรือพวก drawing hand (เช่น 22, 65s และ K5s).

Postlop Range 2 ประเภท

ลองมาดู flop ที่เป็นตัวอย่างของ range 2 ประเภท เมื่อมี action ตอน postflop  กัน

สมมติว่าเราเปิดจาก CO ด้วย range ด้านบน และ flop เปิดออกมาเป็น 

Q♠ 9♣ 6♦

ทีนี้มาลองจัด hand ทั้งหมดของเราตามประเภทของ hand ทั้ง 3 ประเภท

  • Strong hand : ได้แก่ top pair kicker ใหญ่ๆ, over pair, 2 pair และ set(เช่น AQ, KQ, AA, KK, Q9, QQ, 99, 66)
  • Medium-strength hand : ได้แก่ top pair kicker กลางๆ, medium pair และ bottom pair (เช่น QT, A9, T9, 86 และอื่นๆ)
  • Weak hand : ได้แก่กลุ่ม draw, ace-high และ hand ใดๆที่ระดับต่ำกว่า (เช่น JT, T8, 75, A5 และอื่นๆ)

ถ้าเรา bet ที่ flop ด้วย polarized range แปลว่าเราต้อง bet ด้วย hand ประเภท  strong และ weak เท่านั้น

ขณะที่ถ้าเราจะ bet ด้วย merged range เราต้อง bet ด้วย hand แต่ละประเภทจากทั้ง 3 ประเภทเลย

เมื่อไหร่ที่ range ของเราควรจะเป็น polarized?

โดยทั่วไปแล้ว betting range ของเราควรจะเป็น polar ตอน turn หรือ river

ที่กลยุทธ์ส่วนใหญ่ในรอบดังกล่าวควรจะเป็นแบบนั้นก็เพราะค่า stack-to-pot ratio จะสูง เพื่อที่จะเรียก value จะ hand ที่ strong ที่สุดของเราให้ได้มากที่สุด เราจะต้องใช้ bet size ขนาดใหญ่

เมื่อเราใช้ bet size ขนาดใหญ่ (ในทางทฤษฎีแล้ว) คู่แข่งของเราควรจะหมอบ hand กลุ่มกลางๆจนถึงต่ำสุดของ range ของตัวเองให้บ่อยขึ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการ bet ใหญ่กับ medium-strength hand ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะถ้าเราโดน call แปลว่าเรามักจะเจอกับ hand ที่ strong กว่าอยู่บ่อยๆ

โน้ต : การ bet ใหญ่กับ polarized range ต้องดูเป็น hand ต่อ hand ไป ไม่ได้แปลว่าต้องใช้ทุกครั้ง อาจจะมีบางสถานการณ์ที่ควรใช้ bet เล็กกับ polarized range มากกว่า เช่นเดียวกับบางสถานการณ์ที่เราควรจะ bet ใหญ่กับ linear range ถึงจะดีที่สุด

การใช้ polarize range จะเหมาะทีสุดตอน river ขณะที่รอบอื่นๆ การ bluff/semi-bluff ของเรายังสามารถมีไพ่ที่จะพัฒนาได้ต่อ แต่ที่ river นั้นทุกอย่างจะจบแล้ว จึงไม่ควรมีการ bet ที่อยู่กลางๆ ถ้าเราไม่ bet เพื่อ value ก็ต้อง bet bluff อย่างเดียวเท่านั้น

ลองมาดูตัวอย่าง board นี้กัน :

Q♠ 9♣ 6♦ 7♥ 4♥

สมมติเรา cbet ไปที่ flop แล้ว bet ต่อที่ turn และตอนนี้เรากำลังคิดว่าจะทำยังไงดีกับ range ของเราตอน river

ส่วนที่เป็น value bet ใน range ของเราควรประกอบด้วย hand ที่จะต้องถูก call ด้วย hand ที่แย่กว่า มากกว่า 50% ในแต่ละครั้ง ตัวอย่าง hand แบบนี้ที่ชัดๆก็เช่น QQ, 99, 66, Q9, AQ, KK หรือ AA

ส่วน hand ที่ควร bluff ตัวอย่างที่เหมาะควรจะเป็ฯ hand อย่างเช่น KJ, KT, JT ที่ hand พวกนี้เหมาะกับการ bluff ก็เพราะ มันไม่มี showdown value (หงายไพ่สู้ยังไงก็แพ้) และยัง block บาง hand ที่เป็น calling hand ของคู่แข่ง (เช่น KQ, QJ, QT) 

ถ้าเราพยายามจะเล่นให้ optimal (ดี/เหมาะสม/สมดุลที่สุด) เราต้อง balance range ของเรา เพื่อให้มีสัดส่วนระหว่าง value bet ต่อ bluff อย่างเหมาะสม แต่รายละเอียดเรื่องการ balance จะอยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้

เมื่อไหร่ที่ range ของเราควรจะเป็น linear/merged?

flop คือรอบที่ range มักจะมีโอกาสเป็น merged มากที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กั board texture และ stack-to-pot ratio ด้วยเช่นกัน

ที่ flop นั้น ความแตกต่างระหว่าง value hand และ bluffing hand ยังไม่แน่ชัด เพราะมันยังเหลืออีก 2 รอบที่อาจทำให้ value hand โดยพลิกแซง และ bluffing hand ยังมีโอกาสพัฒนาได้

ความแตกต่างที่เด่นชัด สามารถทำให้เห็นภาพได้จากกราฟการกระจายตัวของ equity ได้ตามภาพข้างล่าง ซึ่งแสดงให้ถึงการกระจายตัวของ equity ในแต่ละส่วนของ range ที่ flop equity จะกระจายตัวแบบ linear ขณะที่ river equity จะกระจายตัวแบบกระโดด 

นีคือการกระจายตัวตอน flop :

linear equity distribution

ตัวอย่างของกราฟการกระจายตัวของ equity ที่ flop แกน Y (แนวตั้ง) แสดงถึงระดับของ equity ในแต่ละส่วนของ range 

จะเห็นได้ว่า equity จะมีการกระจายตัวได้ค่อนข้างเรียบเป็นเส้น hand ที่ weak ทีสุด (จุดต่ำสุดของ range) จะมี equity ประมาณ 25% และจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามแกน X จนกระทั่งไปถึง hand ที่ strong ที่สุด (จุดสูงสุดของ range) ซึ่งจะมี equity ประมาณ 90%

ที่นี้ลองมาดูกราฟการกระจายตัวของ Equity ตอน river กันบ้าง :

ตัวอย่างของกราฟการกระจายตัวของ equity ที่ river แกน Y (แนวตั้ง) แสดงถึงระดับของ equity แต่ละส่วนของ range.

คราวนี้จุดต่ำสุดของ range จะมี equity เกือบจะ 0% และเมื่อข้าม range ไปจนถึงระดับหนึ่ง equity จะพุ่งแบบก้าวกระโดด และไล่ระดับไปจนถึง 95% ที่จุดสูงสุดของ range

กราฟนี้แสดงให้เราเห็นว่าทำไมในสถานการณ์ส่วนใหญ่ กลยุทธ์ที่ flop จึงควรเป็น linear มากกว่า และที่ river จึงควรเป็น polar มากกว่า

สรุปเนื้อหา

ตอนนี้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดของโป๊กเกอร์ในระดับสูงมากขึ้นแล้ว พยายามนึกว่า postflop range ควรจะมีลักษณะอย่างไรเข้าไว้ เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่ทุกเรื่องจะมีแค่ขาวกับดำเท่านั้น

สรุปแล้ว ความเข้าใจในเรื่อง polarized และ linear range นั้นมีความสำคัญในเกมโป๊กเกอร์เสมอ!

https://upswingpoker.com/polarized-vs-linear-ranges/