Equity Distribution คืออะไร? และมีความสำคัญยังไง?

การเล่นโป๊กเกอร์มีแต่จะยากๆขึ้นในแต่ละปี อย่างไม่มีข้อสงสัย

มีหลายแนวคิดที่สะท้อนถึง กลยุทธ์รูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในช่วงที่โป๊กเกอร์กำลังบูมเมื่อหลายปีก่อน หนึ่งในนั้นคือแนวคิดเรื่อง equity distribution (การกระจายตัวของ equity)

ถ้าเราอยากจะเล่น (ให้ใกล้เคียงกับ) โป๊กเกอร์แบบ optimal ในบางสถานการณ์ ความเข้าใจเรื่อง equity distribution คือเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง

แต่ถ้าอ่านบทความนี้แล้วพบว่าแนวคิดนี้มันซับซ้อนเกินไป ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะแนวคิดนี้เปรียบเสมือนผลไม้ที่แขวนอยู่บน ต้นไม้แห่งแนวคิดโป๊กเกอร์ ที่อยู่สูงมากๆ และการละมันไว้บ้าง ก็อาจจะไม่กระทบกับการทำกำไรจากเกมของเรามากเท่าไหร่

เนื้อหาในบทความนี้จะครอบคลุมเรื่อง : 

  • Equity Distribution คืออะไร ?
    • Equity ที่กระจายตัวแบบ Linear
    • Equity ที่กระจายตัวแบบ Polarized
  • Equity Distribution สำคัญอย่างไร?

มาเริ่มกันเลย

Equity Distribution คืออะไร?

ในเกมโป๊กเกอร์ equity distribution จะหมายถึง ลักษณะของการกระจายตัวของ equity ไปตามส่วนต่างๆของกลุ่ม hand ใน range 

เราจะไปดูกราฟของ equity distribution กัน โดยให้เข้าใจเอาไว้ว่า :

  • บนแกน X (แนวนอน) คือระดับใน range ของเรา (ยิ่งมาก แสดงว่ายิ่งมีค่าใน range เราสูง)
  • บนแกน Y (แนวตั้ง) คือระดับของ equity ที่อยู่ใน range แต่ละระดับ เทียบกับ range ของคู่แข่ง

ลองดูกราฟตัวอย่างที่แสดงถึงการกระจายตัวของ equity ใน 2 รูปแบบคือแบบ linear กับแบบ polarized

Equity ที่กระจายตัวแบบ Linear

equity ที่มีการกระจายตัวแบบ linear คือการที่ equity ของเรามีการกระจายตัวทั่ว range ของเราอย่างเท่าๆกัน

นี่คือกรณีที่เห็นได้บ่อยที่สุดตอน flop เมื่อเรามีทั้ง hand ที่เป็น value, hand กลางๆ, hand ที่เป็น semi-bluff, และ hand ที่ไม่มีอะไรเลย การกระจายตัวของ hand เหล่านี้ตาม equity ที่มีอยู่ จะเป็นตามกราฟนี้ 

linear equity distribution

สิ่งที่เราสังเกตได้จากกราฟนี้ :

  • ระดับที่ต่ำที่สุด 20% อันดับแรกของ range ของเรา จะมี equity ประมาณ 25-40% ของ pot
  • ในระดับกึ่งกลางของ range จะมี equity อยู่ 50% พอดี
  • ในระดับที่สูงที่สุดของ range จะมี equity ประมาณ 80-90%

ซึ่งการกระจายตัวแบบนี้จะเป็นการกระจายแบบเท่าๆกัน มากกว่าแบบที่เราจะเห็นในส่วนถัดไป

Equity ที่กระจายตัวแบบ Polarized

equity distribution อีกรูแบบคือ equity ที่กระจายตัวแบบ polarized

เมื่อ equity มีการกระจายตัวแบบ polarized จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบราบเรียบ ในช่วงระหว่างระดับต่ำสุด 33% แรกของ range กับระดับสูงสุด 33% หลังของ range ซึ่งเป็นการกระจายตัวที่ตรงข้ามกับแบบ linear ที่เราเพิ่งได้เห็นไป

นี่คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดสำหรับ betting range ที่ river เนื่องจาก range นี้จะแยกกันชัดเจนระหว่าง bluff ที่มี equity 0% (เป็นส่วนใหญ่) กับ value hand ที่มี equity สูงๆ ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้ :

สังเกตว่าช่วงต่ำสุด 35% แรกของ betting range จะมี equity 0% ขณะที่ในอีก 65% ที่เหลือของ rangeจะมี equity อยู่ที่ประมาณ 70-100% ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็น polarized

Equity Distribution สำคัญอย่างไร?

นี่คือส่วนที่เป็นระดับแอดวานซ์ของหลักการจะเริ่มเข้ามามีบทบาท

(ไม่ต้องเป็นห่วง แค่เพราะมันแอดวานซ์ไม่ได้แปลว่าเราจะเข้าใจไม่ได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานหลายๆอย่างก่อน เพื่อที่จะเข้าใจหลักการนี้ได้ดีขึ้น)

จากตัวของกราฟเองที่เราได้ดูไปในข้างต้น ไม่ได้บอกอะไรมากนักว่าเราควรเล่นยังไง แต่เมื่อเปรียบเทียบ equity distribution ของ range เราเทียบกับ range คู่แข่ง เราจะเริ่มเห็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่เราสามารถใช้เพื่อออกแบบกลยุทธ์ของเราได้

ลองดูกราฟตัวอย่างจากสถานการณ์ที่เราเจอบ่อยๆคือ pot ที่มีการ raise ครั้งเดียว โดยที่คน raise preflop ก่อน อยู่ในตำแหน่ง IP (เช่น BTN เจอกับ BB)

เราจะเทียบกันอยู่ 2 flop :

  1. flop ที่ค่อนข้าง dry คือ : Q♠ 8♥ 3♦
  2. flop ที่ไพ่เชื่อมกัน คือ : 8♠ 7♦ 6♥
equity-distribution-comparison v2

range ของ BTN แสดงด้วยเส้นสีแดง ขณะที่ range ของ BB แสดงด้วยเส้นสีเขียว

สิ่งสำคัญ 2 เรื่องที่เราได้จากการกราฟนี้ก็คือ :

1. flop Q♠ 8 3 ผู้เล่นที่ IP จะมี equity advantage เหนือกว่าผู้เล่น OOP อย่างมาก เมื่อเทียบกับ flop 8♠ 7 6 ที่มี equity advantage เพียงเล็กน้อย

ข้อได้เปรียบเรื่อง equity advantage ที่สูงกว่ามากนี้ ดูได้จากความต่างของ equity ในการกระจายตัวแต่ละช่วงของ range เมื่อเทียบกับ flop อย่าง 8♠ 7♦ 6♥ ที่มี equity distribution ในลักษณะที่สมมาตรและใกล้เคียงกันมากกว่า 

2. flop Q♠ 8 3 ผู้เล่นที่ IP จะมี equity advantage อย่างมากในช่วง 20% สูงสุดของ range (ลองเทียบ equity ในช่วง 80-100 ของ range บนแกน X ดู)

แต่เมื่อดูใน flop 8♠ 7♦ 6♥ เราจะเห็นว่า equity แทบจะมีค่าเท่ากันในช่วงนั้น

ข้อสังเกตนี้ส่งผลต่อกลยุทธ์ของเราอย่างไร?

ลักษณะของ equity distribution ของเราเมื่อเทียบกับของคู่แข่งนั้น จะส่งผลต่อ ความถี่ของการ bet และ ขนาดของการ bet ที่เราเลือกใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง :

  • เมื่อใช้ bet ใหญ่ ที่มีช่องว่างระหว่าง 2 range ผู้เล่นที่มี range ที่ strong กว่าจะมีโอกาส bet ได้บ่อยกว่า (ศึกษาแนวคิดได้จากเรื่อง range advantage)

เมื่อเล่นที่ flop ยิ่งมีความต่างระหว่าง equity distributions ของทั้ง 2 range มากขึ้นเท่าไหร่ ฝ่ายที่เป็น IP จะยิ่งสามารถเล่นได้ aggressive มากขึ้นเท่านั้น เพราะคู่แข่งของเขามักจะไม่มี hand ที่จะมาสู้กับความ aggressive ที่เพิ่มขึ้นนี้ได้

นี่คือสิ่งที่เราจะเห็นได้กับ flop Q♠ 8♥ 3♦ ซึ่งเราจะเห็นช่องว่างที่แตกต่างกันของ equity distributions ที่ทำให้ผู้เล่นที่ IP สามารถ c-bet กับ flop อย่าง Q♠ 8 3 ได้บ่อยกว่า flop 8♠ 7 6 มากๆ

  • และเมื่อมีช่องว่างระหว่าง equity ในช่วง 20% สูงสุดของ range ผู้เล่นที่มี strong hand มากกว่าก็ควรจะ bet ให้ใหญ่ขึ้น (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเรื่อง nut advantage)

บทเรียนสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ยิ่งเรามีข้อได้เปรียบในช่วงส่วนที่อยู่จุดสูงสุดของ range มากขึ้นเท่าเรา เรายิ่งสามารถใช้ขนาด bet size ได้ใหญ่มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้หลักคิดนี้ได้กับทุกรอบของการเล่น (flop, turn และ river).

กลับไปที่การเปรียบเทียบในตัวอย่างของเรา การนำเรื่องนี้ไปใช้ในเชิงกลยุทธ์ ก็คือผู้เล่นที่ IP สามารถเพิ่มขนาดของการ c-bet ใน flop Q♠ 8♥ 3♦ ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับ flop 8♠ 7♦ 6♥

สรุปเนื้อหา

ถึงแม้ว่านี่จะไม่ใช่เนื้อหาที่ครบถ้วนเกี่ยวกับเรื่อง equity distribution และผลกระทบของมันต่อการสร้างกลยุทธ์ที่ optimal ของเราก็ตาม แต่ข้อมูลที่เราได้ก็ทำให้เรามีความเข้าใจเชิงพื้นฐานได้กว้างและแน่นขึ้น ในสถานการณ์ที่ไม

https://upswingpoker.com/equity-distribution/