แนวทางการอ่านค่า HUDs เพื่อปรับตัวไป exploit คู่แข่งเบื้องต้น

ในการเล่นโป๊กเกอร์ออนไลน์ปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเราได้ในการวิเคราะห์คู่แข่งก็คือการอ่านค่า HUDs หรือ Heads Up Display ที่เป็นค่าสถิติที่บ่งบอกแนวทางการเล่นของผู้เล่นนั้นๆ ซึ่งเราสามารถหาใช้ได้ในการเล่นโป๊กเกอร์ออนไลน์ในไซต์ส่วนใหญ่ (ส่วนมากจะต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อสิทธิ์ความเป็น VIP เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้)

ข้อมูลใน HUDs นี้ จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่เราจะใช้เพื่อหา leak และเป็นแนวทางในการที่เราจะ deviate จาก GTO เพื่อไป exploit คู่แข่งได้ (หากพบคู่แข่งคนไหนที่มีค่า HUDs ที่ต่างจากจุดที่เป็น GTO มากๆ)

ซึ่งวันนี้ผมก็มีแนวทางการในการอ่านค่า HUDs เบื้องต้นที่เป็นค่าตัวที่สำคัญหลักๆ และขอแนะนำแนวทางการเล่น เมื่อเจอคู่แข่งที่มีค่า HUDs นั้นๆ เพื่อหา leak ในการเอาชนะคนเหล่านั้นได้มากขึ้นในระยะยาว

โดยเราจะเริ่มจากการเรียนรู้ค่า HUDs เบื้องต้นที่สำคัญทั้ง 8 ตัวก่อน ซึ่งแต่ละตัว จะบอกความหมาย และค่าสถิติที่เป็นมาตรฐานตรงกลาง (GTO) จากการแนะนำของ solver (และจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองโดยตรง) สำหรับการเล่น NLH โต๊ะผู้เล่น 6-8 คน (ยิ่งจำนวนคนเยอะ ค่าสถิติจะยิ่งน้อยลง) ดังนี้

=================================

1. VPIP (Voluntarily Put Money in the Pot) = ค่านี้แสดงถึงความบ่อยในการเข้าไปเล่นใน pot โดยสมัครใจ ตอน preflop (ลงเงินเอง ไม่ใช่ big blind) ไม่ว่าจะ limp หรือ raise ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่งเข้าไปเล่นใน pot บ่อย แปลว่าอาจจะเอาไพ่ที่ไม่ได้ strong เข้ามาเล่นบ่อยขึ้น

ค่ามาตรฐาน = 20-25%

2. PFR (Preflop Raise) = ค่านี้แสดงถึงความ aggressive ในการเล่น preflop ด้วยความบ่อยในการเข้าไปเล่นใน pot ด้วยการ raise ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่งเข้าไปเล่น pot ด้วยการ raise บ่อย แปลว่าอาจจะเอาไพ่ที่ไม่ได้ strong มา raise เข้าไปเล่นบ่อยขึ้น

ค่ามาตรฐาน = 14-17%

3. ATS (Attempt To Steal) = ค่านี้แสดงถึงความบ่อยในการพยายามขโมย blind คู่แข่ง โดยการ raise ที่ตำแหน่ง CO และ BTN ยิ่งมีค่านี้มาก แสดงว่ายิ่งมีการ raise ที่ CO และ BTN บ่อย แปลว่าเขาอาจจะเอาไพ่ที่ไม่ได้ strong มา raise เพื่อขโมย blind บ่อยขึ้น

ค่ามาตรฐาน = 25-30%

4. Check-raise = ค่านี้แสดงถึงความ aggressive ในการเล่น postflop ด้วยการ check raise ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่ง check raise บ่อย แปลว่ามีโอกาสที่เขาจะ bluff บ่อยขึ้น

ค่ามาตรฐาน = 6-9%

5. 3-Bet = ค่านี้แสดงถึงความ aggressive ในการเล่น preflop ด้วยการ 3bet ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่ง 3bet บ่อย แปลว่าอาจจะเอาไพ่ที่ไม่ได้ strong มา 3bet บ่อยขึ้น

ค่ามาตรฐาน = 6-9%

6. Fold to 3-Bet = ค่านี้แสดงถึงความ tight ในการเล่น preflop ด้วยการ fold เมื่อเจอ 3bet ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่ง fold เมื่อเจอ 3bet บ่อย แปลว่าอาจจะเป็นผู้เล่นที่เล่นเมื่อเจอ 3bet (call หรือ 4bet) ค่อนข้าง tight กว่าปกติ

ค่ามาตรฐาน = 40-45%

7. C-Bet = ค่านี้แสดงถึงความ aggressive ในการเล่น postflop ด้วยการ cbet ต่อที่ flop หลังเป็น last aggressor (คนที่ raise คนสุดท้าย) ตอน preflop ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่ง cbet บ่อย แปลว่า เขามีโอกาสที่จะมี bluff ที่ flop บ่อยขึ้น

ค่ามาตรฐาน = 45-50%

8. Fold to C-Bet = ค่านี้แสดงถึงความ tight ใน ในการเล่น postflop ด้วยการ fold เมื่อเจอ cbet ยิ่งมีค่ามาก แสดงว่ายิ่ง fold บ่อย เมื่อเจอ cbet แปลว่า อาจจะเป็นผู้เล่นที่เล่นเมื่อเจอ cbet (call หรือ raise) ค่อนข้าง tight กว่าปกติ

ค่ามาตรฐาน = 40-45%

=================================

อย่างไรก็ตาม การนำค่าสถิติเหล่านี้ไปใช้ ต้องมีความระมัดระวังในการตีความ โดยสิ่งที่ผมอยากแนะนำก่อนจะตีความค่าเหล่านี้ก็คือ

  • คู่แข่งต้องมีจำนวนแฮนด์ในการเล่นมากพอสมควรที่พอจะสามารถเชื่อถือค่าสถิติได้ อย่างน้อย 2,000-3,000 แฮนด์ขึ้นไป
  • การอ่านค่าสถิติบางค่า อาจจะต้องแปลความหมายร่วมกับค่าอื่น ไม่สามารถแปลความหมายของค่านั้นโดดๆได้ เช่น คนที่มีค่า VPIP 15% PFR 13% Fold to 3-Bet 15% อาจจะไม่ได้แปลว่า เขาเป็นคนที่เล่น loose มากๆเมื่อเจอ 3bet หรือเอาไพ่ที่ไม่ strong มาเล่นเมื่อเจอ 3bet บ่อยๆ โดยดูแค่ว่า ค่า Fold to 3-Bet น้อย เพราะคนนี้มีค่า VPIP และ PFR น้อยมากๆ แสดงว่า เขาค่อนข้างเล่นแต่ไพ่ที่ strong มากๆอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเจอ 3bet แล้วจะ fold น้อย ก็ไม่แปลก เป็นต้น

=================================

แนวทางการรับมือผู้เล่นสไตล์ต่างๆตามค่าสถิติที่อยู่นอกเกณฑ์มาตรฐาน

1. ผู้เล่นแนว loose passive ตอน preflop (VPIP สูง/ PFR ต่ำ/ ATS ต่ำ/ 3-Bet ต่ำ/ Fold to 3-Bet ต่ำ)

  • โดยทั่วไป เราสามารถเปิด range ให้กว้างกว่าปกติได้เล็กน้อย (fold น้อยลง call หรือ 3bet ได้มากขึ้น) เพื่อโจมตี range ของคู่แข่งที่ weak มากกว่าปกติ
  • ถ้าคู่แข่ง limp มาก่อน และเรามีแฮนด์ที่ strong พอ หรือมี blocker พวก broadway ให้ isolate ด้วย range ที่ strong กว่า open raising range ปกติเล็กน้อย (fold แฮนด์พวก bottom range ลงไปบ้าง) โดย raise + 1 bb ต่อ 1 limper เสมอ แต่หากมี แฮนด์กลางๆ อาจจะ overlimp ด้วยการ call limp ตามไปได้บ้าง เมื่ออยู่ตำแหน่ง late position (CO, BTN)
  • ถ้าคู่แข่งโชว์ความ aggressive (open raise, 3bet) ให้รับมือด้วย range ที่ tight กว่าปกติ (fold มากขึ้น, call หรือ 4bet น้อยลง) เพราะ range คู่แข่งจะ strong กว่าปกติ
  • เล่นที่ flop ใน 3bet pot ด้วยความระมัดระวังมากขึ้น (check มากขึ้น bluff น้อยลง) โดยเฉพาะบน flop ที่ไม่ค่อยมี broadway และไพ่เรียงกัน, มี draw เยอะ เพราะมีโอกาสที่คู่แข่งจะมี range advantage บนบอร์ดเหล่านี้มากกว่าเรา เนื่องจาก range เขากว้างกว่า

2. ผู้เล่นแนว loose aggressive ตอน preflop (VPIP สูง/ PFR สูง/ ATS สูง/ 3-Bet สูง/ Fold to 3-Bet ต่ำ)

  • เนื่องจากคู่แข่ง raise บ่อย ด้วย range ที่กว้างขึ้น แปลว่าคู่แข่งเอาพวกแฮนด์กลางๆมา raise มากขึ้น หรือมี bluff มากขึ้น เราก็รับมือโดยการเพิ่ม 3bet และ 4bet range ของเราให้กว้างขึ้นได้เล็กน้อย เมื่อเรา Out of Position และ call ได้กว้างขึ้น เมื่อเรา In Position
  • พยายามเล่น postflop ด้วย range ที่ tight กว่าปกติ ลดสัดส่วน bluff ลงเล็กน้อย เพราะคู่แข่งมีโอกาสมี made hand มากกว่าปกติ

3. ผู้เล่นแนว tight ตอน preflop (VPIP ต่ำ/ PFR ปกติ/ ATS ต่ำหรือปกติ/ 3-Bet ต่ำหรือปกติ / Fold to 3-Bet ต่ำ)

  • เนื่องจากคู่แข่งมี open rasing range และ 3bet range ที่ tight กว่าปกติ range จึงมักมีแต่แฮนด์ที่ strong จึงมักไม่ค่อย limp และมักไม่ค่อย fold เมื่อเจอ 3bet อยู่แล้ว เราจึงต้องรับมือด้วย range ที่ tight กว่าปกติเช่นกัน ถ้าเจอเขา raise หรือ 3bet มา (fold มากขึ้น, call น้อยลง, 3bet น้อยลง, 4bet น้อยลง) เพื่อไม่ให้ range ของเราโดน dominated
  • Postflop เขามีโอกาสมี range advantage น้อยลง บนบอร์ดที่ไม่มีไพ่ broadway (เป็นเลขเล็ก/กลาง เรียงกัน) ทำให้เราสามารถ bet หรือ raise เพื่อ bluff ได้มากขึ้น

4. ผู้เล่นแนว loose ตอน postflop (Fold to C-Bet ต่ำ)

  • ถ้าเรา missed hand บนบอร์ดที่เรามี range advantage เราอาจจะยังสามารถ bluff ได้บ้างตามปกติ แต่หากคู่แข่ง call ตามมา แล้ว runout ไม่เข้าทาง range เรา อาจจะต้อง bluff ต่อให้น้อยลง เพราะคู่แข่งมีโอกาส fold น้อยลง
  • ถ้าเรามี made hand ที่ strong พอ (top pair high kicker ขึ้นไป) บนบอร์ดที่ค่อนข้าง static เราอาจจะ bet / raise ด้วยไซส์ที่ใหญ่กว่าปกติได้ เพื่อเรียก EV จาก call ของคู่แข่งได้มากขึ้น และไม่ควร slow play กับคู่แข่งประเภทนี้ เพราะจะทำให้เราเสีย value และคู่แข่งมีโอกาสมี made hand แปลกๆได้สูงกว่าปกติ

5. ผู้เล่นแนว tight passive ตอน postflop (Check-raise ต่ำ/ C-Bet ต่ำ/ Fold to C-Bet สูง)

  • Cbet โดยการเพิ่ม bluffing range ให้กว้างขึ้นได้ เพราะเรามีโอกาสขโมย pot ได้สูงขึ้น และไม่ต้องกลัวว่าจะโดน check-raise เท่าไหร่
    แต่ถ้าเขา call มาได้ แล้ว runout ไม่เข้าทาง range เรา หรือ runout ไม่เปลี่ยน ต้อง bluff ให้น้อยลงและ check ให้มากขึ้น
  • ถ้าคู่แข่งโชว์ความ aggressive ออกมา (bet/ raise/ check-raise) ให้เล่นต่อด้วย range ที่แคบกว่าปกติ (fold เยอะขึ้น, call/ 3bet น้อยลง)

6. ผู้เล่นแนว aggressive ตอน postflop (Check-raise สูง/ C-Bet สูง)

  • โดยทั่วไป Fold ให้น้อยลง call/ raise ให้มากขึ้น
  • เมื่อเจอ check-raise อาจจะต้องพยายาม call กับแฮนด์กลางๆเพื่อไปจับ bluff ให้มากขึ้น (แต่หาก runout ไม่เข้าทาง อาจจะต้อง fold ใน street ถัดๆไป)
  • เช่นเดียวกัน เมื่อเจอ bet อาจจะต้อง call แฮนด์กลางๆให้มากขึ้น และ check raise กับ bluff ให้สูงขึ้น เพื่อให้เขา fold กับ bluff ตัวเองให้มากขึ้น
    ถ้าแฮนด์เรา strong พอ และบอร์ดค่อนข้าง static อาจจะ slow play โดยการ check call ได้บ้าง เพื่อปล่อยให้เขา bluff ไปเรื่อยๆ (แต่หากบอร์ดเปลี่ยนและเริ่มอันตราย ต้องหยุด slow play)

=================================

ทั้งหมดนั้น คือค่า HUDs และแนวทางเบื้องต้นในการรับมือผู้เล่นแต่ละแบบที่เล่นนอกเหนือจาก line ของ GTO ที่ผู้เล่นออนไลน์ส่วนใหญ่สามารถนำไปปรับใช้ได้ แต่หากเราไม่สามารถอ่านค่า HUDs ของคู่แข่งได้ (เช่น เล่นไลฟ์ หรือออนไลน์ที่ไม่มีค่า HUDs) เราอาจต้องเริ่มจากการสังเกต action คู่แข่งและจดบันทึก showdown ของคู่แข่งไว้ ว่าคู่แข่งเล่นไพ่แบบไหนด้วยวิธีการอย่างไร ก็อาจจะพอช่วยให้เราประเมิน range และสไตล์ของคู่แข่ง และรับมือตามแนวทางที่แนะนำไว้ได้เช่นกันครับ

Zuburbian1