เราควรใช้ขนาดของการ c-bet เท่าไหร่ดีในแคชเกม? (สุดยอดคำแนะนำ ตอนที่ 1)

นี่คือสถานการณ์ที่เราอาจจะเคยเจอมาแล้วหลายครั้ง

เรากำลังเล่นแคชเกม เกม  $0.50/$1.00 คนก่อนหน้า fold มาถึงเราที่อยู่ BTN เรา raise $2.50 BB call และ flop ออกมาเป็น :

Q♠ T♦ 5♥

BB check เรามีแฮนด์ที่สามารถ c-bet ได้ แต่ เราควรใช้ขนาดของการ c-bet เท่าไหร่ดี?

จุดประสงค์ของบทความ 2 ตอนนี้คือ เพื่อช่วยให้เราค้นหา และเขาใจคำตอบของคำถามดังกล่าว 

ในตอนที่ 1 เราจะดูกันถึงเรื่องข้อดีและข้อเสียของการ c-bet ด้วยขนาด 33% ของ pot ส่วนใน ตอนที่  2 เราจะไปดูกันที่ข้อดีและข้อเสียของการ c-bet โดยใช้ขนาด 66% และ 100% ของ pot

แต่ก่อนที่เราจะไปดูเนื้อหาของ bet size แบบแรก มาลองนึกถึงจุดประสงค์ที่เราต้องการ ของการ c-bet กันก่อน 

เป้าหมาย 3 ข้อของการ c-bet ที่เราต้องการบรรลุ :

1. c-bet ให้ pot ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เราได้เงินมากขึ้นเมื่อเรามี strong hand (หรือคือการเรียก value นั่นเอง)

ตัวอย่าง : c-bet ด้วย A♦ Q♠ บน flop Q-T-5 ซึ่งอาจมีแฮนด์ที่ call ตามมาได้ เช่น A♦T♠.

2. c-bet เพื่อให้คู่แข่ง fold แฮนด์ที่ดีกว่า (หรือคือการ bluff นั่นเอง)

ตัวอย่าง : c-bet ด้วย J♠ 9♠ บน flop Q-T-5 ซึ่งบีบให้คู่แข่งต้อง fold แฮนด์อย่างเช่น 4♥4♠.

สุดท้าย ซึ่งเป็นเหตุผลของการ c-bet ที่มักจะถูกลืมและถูกมองข้ามมากที่สุด :

3. c-bet เพื่อไม่ให้คู่แข่งของเราได้เห็นไพ่ที่ turn หรือ river ฟรีๆ (หรือที่เรียกว่า bet เพื่อป้องกัน หรือการ deny equity นั่นเอง)

ตัวอย่าง : c-bet ด้วย 6♥ 6♠ บน flop Q-T-5 ซึ่งบีบให้คู่แข่งเราต้อง fold แฮนด์อย่าง K♠7♠ ถึงแม้ตอนนี้เราอาจจะมีแฮนด์ที่ดีกว่า แต่การทำให้คู่แข่งต้อง fold ไพ่ 2 ใบที่เป็น overcard (และมี 6 outs) ได้ ก็เป็นผลลัพธ์ที่ดีกับเราเช่นกัน

การ c-bet เป็นเรื่องที่ฟังดูเข้าท่าใช่ไหม? แต่ก่อนที่เราจะคิด ที่จะ c-bet ทุกแฮนด์ในทุกสถานการณ์ มาลองดูข้อเสียของการ c-bet กันก่อน

ข้อเสียหลักๆ 3 ข้อของการ c-bet :

1. ทำให้เราเสียเงินมากขึ้น ถ้าเจอคู่แข่งที่มีแฮนด์เหนือกว่า

ตัวอย่าง : ถ้าเรา c-bet บน flop Q-T-5 ด้วย 7♣ 8♣ แล้วโดน call ทำให้เราต้องเสียเงินค่า bet เพิ่ม แทนที่จะยอมแพ้โดยการ check ไปเรื่อยๆ

2. c-bet ไม่เป็นการปิดแอ็คชั่น ทำให้คู่แข่งมีโอกาสที่จะ raise กลับมาได้

ตัวอย่าง : ถ้าเรา c-bet บน flop Q-T-5 ด้วย A♦ 9♦ และคู่แข่งเรา raise บังคับให้เราต้อง fold อาจทำให้เราคิดว่าเราน่าจะ check แทน เพราะหลายครั้งที่เรามีไพ่ที่พัฒนาได้ที่ turn (เช่น K♦)

นอกจากนี้ การทำให้คู่แข่งต้อง fold กับแฮนด์ที่แย่กว่า ไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป นั่นก็เพราะ :

3. ถ้าคู่แข่ง fold ให้กับ c-bet ของเรา ทำให้เขาไม่มีโอกาส bluff ใน street หลังๆ หรือติดแฮนด์ที่ดีรองจากเราได้

ตัวอย่าง : c-bet ด้วย J♣ T♣ บน flop Q-T-5 ทำให้คู่แข่งต้อง fold 7♣ 8♣ ซึ่งไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ เพราะ 7♣ 8♣ ทำให้คู่แข่งเรามีโอกาสน้อยมากที่จะชนะแฮฯด์เราได้ และเขาก็อาจจะ call bet ของเรา ถ้า 7 หรือ 8 ตก หรือเขาอาจจะ bet เพื่อ bluff เราทีหลังได้

ตอนนี้เราคงรู้ข้อดีข้อเสียของการ c-bet กันไปแล้ว เราก็จะมาศึกษาเพิ่มเรื่องของการ c-bet 33% ของ pot กัน

การ c-bet ด้วยขนาด 33% ของ pot

จุดประสงค์หลักของการใช้การ bet ไซส์นี้ ก็เพื่อ การปกป้อง โดยทำให้คู่แข่งต้อง fold แฮนด์ที่แย่กว่า ด้วยราคาที่ไม่แพง หรือเราอาจจะ เรียก value ขนาดเล็กได้ กับแฮนด์ที่เราไม่อยาก value bet ด้วยการ bet ใหญ่ 

การ bet ไซส์นี้ เหมาะกับการใช้เพื่อการ bet กับ แฮนด์ส่วนใหญ่ใน range ของเรา หรืออาจจะใช้กับทั้ง range เลยก็ได้ ซึ่งหลายแฮนด์ที่เรา bet ด้วยไซส์นี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นการ bet เพื่อ “value” หรือ “bluff” ตามความเชื่อแบบเดิมๆ

คู่แข่งของเรามักจะตอบโต้กับไซส์นี้ ด้วยการ call กับหลายๆแฮนด์ มากกว่าเวลาเจอไซส์ที่ใหญ่กว่า เพราะเขาได้ call ในราคาที่ถูกกว่า และเราก็ได้ bet ในราคาที่ดีกว่าเช่นกัน

และเขาอาจจะเริ่ม check-raise เราบ่อยขึ้น เพื่อ “ลงโทษ” เรา จากการที่ bet กับแฮนด์จำนวนมาก ซึ่งเขาสามารถทำได้ด้วยการ raise ขนาดเล็กเพื่อเรียก value (และเพื่อเป็นการปกป้อง) มากกว่าที่จะทำเมื่อเจอ c-bet ที่ใหญ่กว่านี้ บน flop Q-T-5 เขาอาจจะ check-raise ไม่ใหญ่มากด้วย KQ เพื่อเรียก value หรือ raise กับ bluff จำนวนมากอื่นๆก็ได้เช่นกัน

การ c-bet ด้วยขนาด 33% จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดบน board ที่มีไพ่คู่ หรือไม่เรียงกัน เช่น 2♥ 9♦ 5♠ เพราะคู่แข่งของเรามักจะมี overcard จำนวนมากที่พอจะมี equity ที่ board แบบนี้ ที่อาจจะ fold ได้ และเมื่อเขา fold กับแฮนด์เหล่านี้ ก็แปลว่าเราสามารถ deny equity ของเขาไปได้เยอะมาก 

และไซส์นี้ก็สมเหตุผลกับ board ที่ range ของคู่แข่งนั้นอ่อนแอมากๆ เทียบกับ range ของเรา เช่น บน flop อย่าง K♦ 2♠ 7♥

อย่างไรก็ตาม การเล่นที่ turn หลังจากถูก check-raise ที่ flop เมื่อเราใช้ไซส์นี้ อาจจะทำให้เราเล่นได้ยาก เพราะการที่เรา c-bet บ่อยเกินไป ทำให้เราอาจจะโดนบังคับให้ call check-raise คู่แข่ง loose เกินไป เมื่อเทียบกับสถานการณ์ส่วนใหญ่ทั่วไป 

และตอน turn และ river เราต้องใช้การ bet ขนาดใหญ่ ก็เรียก value จากคู่แข่ง และเราอาจจะต้อง check turn ให้บ่อยขึ้น เพราะเรามักจะมี range ที่กว้างมาก กับพวกแฮนด์ที่ไม่ strong มากนัก

range ของการ bet ด้วยขนาด 33% ของ pot บน board อย่าง 5♥ T♦ Q♠ อาจจะมีลักษณะตามรูปนี้ :

c-bet strategy on QT5

สีแดง= Bet, สีเขียว = Check, สีน้ำเงิน = ไม่อยู่ใน range

โน้ตไว้ว่า ใน board นี้ การ bet 33% ของ pot กับทุกแฮนด์ อาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีได้เช่นกัน เนื่องจากมันใช้งานได้ง่ายกว่ากลยุทธ์ที่ต้องผสมการ check เข้าไปด้วยบางส่วน

จากนี้คือข้อดีและข้อเสียของการใช้ c-bet ไซส์ 33%

ข้อดีของการ c-bet 33%

1. ไม่ต้องเสี่ยงกับชิพจำนวนมากเมื่อต้อง bluff หรือ bet เพื่อปกป้อง เวลาที่ไพ่ตามหลัง

2. ได้ value เล็กน้อย จากการบีบให้คู่แข่งต้อง call กับหลายแฮนด์ใน range

จากมุมมองของคู่แข่ง เขาสามารถ call ได้ในราคาที่ไม่แพง เนื่องจากเขาก็รู้ว่าเราก็อาจ bluff ด้วย weak hand ในราคาไม่แพงได้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง : c-bet A♣ 5♣ บน flop Q-T-5 การ bet ไป 33% เป็นการบีบให้คู่แข่งต้อง call กับแฮนด์อย่าง K♦ 5♦ ที่แพ้เราอยู่

3. ทำให้คู่แข่งต้อง fold บ่อย ไม่ว่าเราจะ bet ไซส์ไหนก็ตาม เพราะเขาเป็นผู้เล่นที่ weak 

ข้อนี้เป็นเรื่องจริง โดยเฉพาะเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่ range ของคู่แข่งมี weak hand ได้เยอะ (เช่น จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ เมื่อคู่แข่งของเรา call จาก BB) ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่คู่แข่ง fold มา เพราะถึงแม้จะเป็น weak hand แต่เราก็ถือเราได้ปกป้องแฮนด์ของเรา (ถ้า weak hand นั้นพัฒนามาชนะเราได้)

ตัวอย่าง : 7♣ 9♣ มีโอกาสที่จะ fold บน flop Q-T-5 สูง ไม่ว่าจะใช้ขนาด bet เท่าไหร่ การ bet เล็กทำให้คู่ต่อสู้เราต้อง fold equity ของแฮนด์นี้ทิ้งไป โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ชิพจำนวนมากไปเสี่ยงถ้าเขาเกิดมี strong hand ขึ้นมา

4. ช่วยให้เราตัดสินใจที่ flop ได้ง่ายขึ้น 

เนื่องจากเรามักจะต้อง bet กับแฮนด์ส่วนใหญ่หรือทั้ง range ทำให้เราไม่ต้องคิดมากว่าจะ bet บางแฮนด์ดีหรือไม่ การ c-bet ของเราจึงช่วยลดความผิดพลาดให้น้อยลงโดยอัตโนมัติ 

ตัวอย่างเช่น เรากำลังคิดว่าจะ c-bet ด้วย 2♠ 2♥ บน flop 5♥ T♦ Q♠ โดยใช้ขนาดใหญ่ เพื่อปกป้อง หรือ bluff หรือ check เพื่อหวังจะชนะ showdown ดี ซึ่งการ bet เล็กกับ (เกือบจะ) ทุกแฮนด์ จะช่วยให้เราเลี่ยงปัญหาตรงจุดนี้ได้

5. ทำให้เราได้เห็น river บ่อยขึ้น 

เมื่อเราี weak hand เช่น  A♥ 6♥ เราคงไม่อยาก bet ใหญ่เท่าไหร่ เราเลยอาจเลือกที่จะ check แทน ซึ่งนั่นเปิดโอกาสให้คู่แข่งของเรา probe bet ที่ turn ได้บ่อยขึ้น บีบให้เราต้อง fold และกันไม่ให้เราได้เห็นไพ่ที่ river

แต่ถ้าเรา bet ⅓ ของ pot ที่ flop เรามักจะได้เห็นทั้ง turn และ river ถ้าคู่แข่งเราไม่ check-raise ที่ flop หรือ donk bet ใส่เราที่ turn ซึ่งผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะ check-raise ที่ flop หรือ donk bet น้อยกว่าที่พวกเขาจะ probe bet มาก

ดังนั้น การ bet เล็กที่ flop ทำให้เรามีโอกาส check back ที่ turn ด้วย A♥6♥ และอาจทำให้เราชนะ ถ้า A♦ ตกมาที่ river ได้

6. ฉวยโอกาสจากผู้เล่น passive ประเภท “ไม่ติดก็ fold” ได้ 

การ bet ไซส์นี้เหมาะมากเมื่อเจอกับผู้เล่นที่เราสังเกตว่าเขาไม่ได้สนใจกับไซส์ของการ bet ทำให้เราสามารถ bluff ในราคาถูกได้

เช่นกัน ไซส์นี้ก็ทำให้เราได้กำไรจากคู่แข่งที่ไม่ได้ check-raise บ่อยพออีกด้วย

ข้อเสียของการ c-bet 33%

1. เสี่ยงที่จะเสีย value กับ strong hand

ลองนึกภาพว่าเรา bet 33% flop, bet ใหญ่ที่ turn และ bet ใหญ่อีกทีที่ river บน board 5♥-T♦-Q♠-2♦-3♠ ด้วย K♥K♠ ซึ่งคู่แข่ง call ตามมาทุกครั้ง และโชว์ว่าถือ  A♥Q♠

ถึงแม้เราจะชนะ pot แต่เราก็ชนะได้น้อยกว่า ถ้าเรา c-bet ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพราะคู่แข่งมีโอกาสที่จะ call สูงมากกับแฮนด์นี้ แม้จะใช้ไซส์ใหญ่ก็ตาม

ซึ่งเรามีโอกาสเล่นแบบนี้ได้กับ ผู้เล่นที่ call ตามมาบ่อยเกินไป

2. เสียเงินบ่อยขึ้นกับ weak hand เมื่อเจอกับแฮนด์ที่ strong กว่าเล็กน้อย

จากการที่เรา bet ด้วย range ที่กว้างตอน flop ทำให้เราแทบจะไม่ check down ถึง river แปลว่า เราจะเสียเงินเยอะขึ้น กับแฮนด์ที่แย่กว่าคู่แข่งเล็กน้อย ถ้าเทียบกับการที่เรา check down “โดยปกติ”  

ตัวอย่าง : เราเสียเงินค่า bet มากขึ้นกับ 44 เมื่อเจอกับ A5 บน board 5♥-T♦-Q♠-2♦-3♠

3. เราไม่ได้จะได้เห็นไพ่ที่ turn เสมอไป

เรา bet กับหลายแฮนด์ใน range ด้วยไซส์นี้ รวมถึงหลายๆแฮนด์ที่เราอยากจะเห็นไพ่ที่ turn

แต่เมื่อเราไม่ได้ปิดแอ็คชั่น ก็เท่ากับเราเปิดโอกาสให้คู่แข่ง check-raise ซึ่งทำให้เราต้อง fold กับหลายๆแฮนด์ทำให้เราไม่ได้เห็น turn

4. การเล่นใน street ถัดไป และการป้องกันให้ถูกต้อง เมื่อเจอ check-raise เป็นเรื่องยาก

You may have an easy decision with your c-bet, but after that things can get complicated.

ถึงแม้การ c-bet ที่ flop จะทำให้เราตัดสินใจง่าย แต่หลังจากนั้น มันจะเริ่มยุ่งยากมากขึ้น

เราต้องหาทางเล่นให้ถูก และป้องกัน เมื่อเจอกับ check-raise ที่ flop ด้วย range ที่กว้างให้ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการศึกษาและประสบการณ์พอสมควร

https://upswingpoker.com/c-bet-sizing-flop-guide/