วิธีเพิ่มโอกาสชนะด้วยการใช้ bluff-to-value ratio

เคยได้ยินเรื่อง bluff-to-value ratio มาก่อนไหมครับ? ถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้อย่างถูกต้องเมื่อไหร่ มันจะช่วยให้เราทำกำไรได้มากขึ้น ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่าย aggressor หรือเมื่อต้องเจอกับ aggressor ก็ตาม

สิ่งที่เราจะเรียนกันในบทความนี้ :

  • bluff-to-value ratio คืออะไร?
  • จุดประสงค์ของ bluff-to-value ratio คืออะไร และจะใช้เมื่อไหร่?
  • อัตราส่วนที่เหมาะสมที่เราควรใช้ตอน flop, turn และ river
  • ข้อจำกัดของหลักการนี้
  • วิเคราะห์ตัวอย่างการเล่นแต่ละรอบ

Bluff-to-Value Ratio คืออะไร?

bluff-to-value ratio คืออัตราส่วนระหว่าง จำนวน combo ของ bluff เทียบกับ จำนวน combo ของ value hand ใน betting range ของเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี bettig range ที่ river เป็น bluff จำนวน 12 combo และเป็น value 36 combo ดังนั้น bluff-to-value ratio ของเราคือ 1 ต่อ 3

อัตราส่วน bluff-to-value ratio ที่เหมาะสมที่สุดในทางทฤษฎีนั้นเปลี่ยนไปในการเล่นแต่ละรอบ ช่วง preflop เป็นช่วงที่เราควรมีสัดส่วน bluff ที่มากที่สุด (เนื่องจากเป็นช่วงที่ bluffing hand มี equity มากที่สุด) แล้วหลังจากนั้นสัดส่วนถึงเน้นไปทาง value มากขึ้น เมื่อ hand มีการพัฒนาในแต่ละรอบ 

ขนาดของ bet size ที่ใช้เองก็เป็นตัวกำหนดสัดส่วน bluff-to-value ratio ที่เหมาะสมที่สุด ที่สำคัญเช่นกัน ยิ่ง bet size ใหญ่ เรายิ่งมีโอกาส bluff ได้กำไรมากขึ้น ยิ่ง bet size เล็ก เรายิ่งมีโอกาส bluff ได้กำไรน้อยลง

จุดประสงค์ของ bluff-to-value ratio และวิธีการใช้

Bluff-to-value ratio เป็นแนวคิดที่เรียบง่าย แต่ใช้ได้อย่างมีประโยชน์จากเหตุผล 2 ประการ :

1. มันช่วยให้เราสร้าง betting range ที่ดีได้ในทางทฤษฎี

สัดส่วน bluff-to-value ratio ที่เหมาะสมที่สุดในทางทฤษฎีนั้น อยู่ที่ pot odds ที่คู่แข่งต้องใช้ในการ call ซึ่งถูกกำหนดมากจาก bet size ของเรา ถ้า bet ของเราสร้างอัตราส่วนได้อย่างถูกต้องพอดี betting range ของเราจะ balance และไม่สามารถถูก exploit ได้เลย

แต่จำไว้ว่า การ bet ให้เกิด bluff-to-value ratio ที่ balance อย่างสมบูรณ์แบบนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้ในการเล่นจริง เราทำได้ดีที่สุดแค่พยายามกะประมาณให้เข้าใกล้อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้น หลังจากนั้นเมื่อจบ session การเล่น เราสามารถกลับมาทบทวน hand ที่เล่นว่าเราเล่นเข้าใกล้ความสมบูรณ์แบบมากแค่ไหน

2. มันช่วยให้เราจับ bluff อย่างมีกำไรมากขึ้น

ถ้าเรารู้ pot odds และสามารถประเมิน bluff-to-value ratio ของคู่แข่งได้ เราจะสามารถรู้ได้ว่า range ของเขา balance มากพอหรือไม่ ทำให้เราสามารถปรับการ call ให้เหมาะสมขึ้นได้ ดังนี้ :

  • fold ทั้งหมด แทนที่จะจับ bluff ถ้าเจอ range ที่ไม่ balance โดยเป็น value bet มากเกินไป
  • call จับ bluff ทั้งหมด ถ้าเจอ range ที่ไม่ balance โดยเป็น bluffiing bet มากเกินไป

โน้ตว่า ถ้า hand ที่จะใช้จับ bluff ของเรา มีโอกาสชนะ value range ของคู่แข่งบ้าง มันอาจจะได้กำไรจากการ call มากขึ้น แม้ range ของคู่แข่งจะเป็น value range มากเกินไปก็ตาม

ลองมาดู hand ที่เล่นกันจนถึง river เป็นตัวอย่าง

สมมติมีผู้เล่นชื่อ Mark bet ไป $15 ใน pot ที่มี $20 ที่ river โดยมี range ที่ประกอบไปด้วย bluff 12 combo และ value 36 combo ทำให้มี bluff-to-value ratio เป็น 1 ต่อ 3

เมื่อเจอกับการ bet 75% ของ pot คู่แข่งของ Mark (สมมติชื่อ Susan) จะเจอ pot odds เท่ากับ 35 ต่อ 15 หรือ 2.33 ต่อ 1 ที่จะ call 

คำถาม : สัดส่วน bluff-to-value ratio ที่เหมาะสมที่สุดตามทฤษฎีจากการ bet ของ Mark คือเท่าไหร่?

คำตอบ : 1 ต่อ 2.33 หรือ bluff 1 combo ต่อ value 2.33 combo 

เนื่อง betting range ของ Mark จะหนักไปทาง value มากเกินไป (ควรจะมี bluff-to-value ratio 1 ต่อ 2.33 แต่มีจริง 1 ต่อ 3 ทำให้มี value bet มากกว่าที่ควรเป็น)  ทำให้ Susan ไม่สามารถ call โดยการจับ bluff อย่างมีกำไรได้ (ยกเว้นว่า hand นั้นจะชนะ value range ของ Mark)

แต่ถ้าสมมติว่า Mark bet ด้วยสัดส่วนเดิมตอน river แต่ betting range เน้นหนักไปทาง bluff แทน เป็น 1 ต่อ 1.5 มันจะทำให้ Susan สามารถ call ไปจับ bluff ได้อย่างมีกำไรมากขึ้น

โน้ตว่า การคำนวณ bluff-to-value ratio ที่ river ที่เหมาะสมที่สุดนั้นไม่ยาก เพราะ bluff ของเราควรมี equity 0% เมื่อโดน call แต่ไม่ใช่กรณีตอน flop หรือ turn ซึ่งเราจะแนะนำให้ใช้สูตรการเล่นง่ายๆในส่วนถัดไป

Bluff-to-Value Ratio ตอน Flop, Turn และ River

bluff-to-value ratio ของเราจะ balance มากขึ้นถ้าเราใช้สูตรการเล่นง่ายๆ คือ :

  • 2 ต่อ 1 ตอน flop
  • 1 ต่อ 1 ตอน turn
  • 1 to 2 ตอน river

คำอธิบายทางคณิตศาสตร์ในเรื่องนี้สามารถหาอ่านได้จากหนังสือเล่มโปรดของ Ryan Fee โค้ช Upswing ของเรา นั่นก็คือ Applications of No-limit Hold’em โดย Matthew Janda

ข้อจำกัดของการใช้สัดส่วน bluff-to-value ratio ที่เหมาะสมที่สุด

เมื่อเรา bet ตามสัดส่วน bluff-to-value ratio ที่เหมาะสมที่สุด เราไม่ได้กำลังพยายามจะ exploit คู่แข่งของเราโดยตรง เพียงแต่เรา exploit ทางอ้อม โดยการให้โอกาสคู่แข่งเล่นผิดพลาดกับ range ที่ balance ของเรา

ลองดูตัวอย่างแบบสุดขั้วอีกอย่าง สมมติว่า เรากำลังเล่นกับคนรวยที่เป็น calling station ที่แทบจะไม่ fold pair ใดๆตอน postflop เลย ถ้าเราพยายามจะรักษาการ bet ที่ balance อย่างสมบูรณ์แบบ มันจะกลายเป็นเราจะหยิบยื่นกำไรให้กับผู้เล่นคนนี้มากจนเกินไป ดังนั้น เราจึงไม่ควร bluff เลยเพื่อขยาย value range ของเราให้กว้างขึ้นแทน

นอกจากนั้น ในหลาย board เราควร bluff ให้น้อยลงกว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดเล็กน้อย จากหลักการเรื่อง removal effect เพราะถ้าเรา bluff แปลว่าจะมีโอกาสที่คู่แข่งจะมี strong hand มากขึ้น ถ้า hand ของเรามี blocker ที่จะไป block bluff ของคู่แข่ง

วิเคราะห์ range ในการเล่นแต่ละรอบ

ก่อนเราจะไปวิเคราะห์ตัวอย่าง ผมควรจะบอกว่า มันมีวิธีมากกว่า 1 วิธี ที่จะสร้างกลยุทธ์การ c-bet ที่ flop ที่ balance ที่จะเอาชนะคนอื่นได้ ซึ่งเราจะแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยกัน ตามที่สอนใน Upswing Lab ซึ่งเป็นกลยุทธ์การ bet ที่ polarized

สมมติว่าเราเปิดที่ BTN กับ range นี้

preflop merged bluff-to-value

สีอื่นๆ = raise สีเทา = fold

แล้วมีแค่ BB call แล้ว flop ออกมาเป็น K♣ T♠ 6♣

หลังจาก BB check c-bet range ที่ flop ของเราควรจะมีหน้าตาประมาณนี้ (สมมติ bet ประมาณ 75% ของ pot)

สีอื่นๆ = raise สีเทา = check

เรา bluff กับเกือบทุก flush draw, straight draw และ backdoor flush draw ยกเว้น draw ที่เป็น A high ซึ่งเราสามารถ check back ได้เพราะยังพอมี show down value  

สำหรับ value bet เราจะ c-bet เฉพาะ hand ที่สามารถ bet ต่อเนื่องได้ 3 รอบไม่ว่าไพ่ที่เหลือจะออกมาอย่างไร ซึ่ง hand ที่อยู่ต่ำสุดใน range นี้จึงคือ AK ที่เป็น top pair top kicker เท่านั้น

(โน้ตว่า เรามี range advantage ใน board นี้ ดังนั้นจริงๆแล้วจึงสามารถ c-bet ด้วย range ที่กว้างขึ้นได้ แต่ให้สมมติว่าเรา bet ได้เฉพาะ range ที่แคบๆแบบนี้ไว้ก่อนสำหรับตัวอย่างนี้)

betting range ที่ flop นี้ของเรามี value bet 41 combo และมี bluff 80 combo ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราส่วน bluff-to-value ratio 2 ต่อ 1 ที่เราพยายามจะเล่นที่ flop

สมมติว่า BB call turn ออกมาเป็น  7♦ และ BB check อีกครั้ง

ไพ่นี้ไม่ได้ทำให้เรา draw ติดอะไรเท่าไหร่ (ยกเว้น 98s ที่ติด straight) ดังนั้นเราจึงต้องหยุด bluff กับบาง combo ใน range เพื่อให้เหลืออัตราส่วน bluff-to-value ratio ที่ 1 ต่อ 1 ที่เราพยายามเล่นที่ turn

และ c-beting range ที่ turn ของเราน่าจะเป็นประมาณนี้ :

สีอื่นๆ = raise สีเทา = check

ถึงตรงนี้ เราสามารถ bet ต่อได้แค่กับ :

  • flush draw ทั้งหมด
  • gutshot ทั้งหมด
  • open-end ต่ำ (8♠ 5♠ และ 5♠ 4♠)
  • open-end สูง ที่ block straight (Q9 และ J9)

เนื่องจาก QJ ไม่ได้ block straight และต้อง fold ถ้าโดน check-raise เราจึงควร check back จะได้ไม่ต้องโดนบังคับให้ fold กับ hand ที่เรายังมี equity พอสมควร

value range ของเรายังมี hand กลุ่มเดิมที่มาจาก flop เนื่องจาก turn ไม่ได้ทำให้ board texture เปลี่ยนมากจนเกินไป AK ยังสามารถ value bet ได้ดีอยู่

โดยรวมแล้ว เราจะ bet กับ bluff combo ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง และ bet กับ value combo เดิมตอน flop ทั้งหมด ดังนั้น bluff-to-value ratio ของเราจะลดลงจาก 2 ต่อ 1 เหลือใกล้กับ 1 ต่อ 1 ที่เราตั้งใจจะเล่นตอน turn

BB call อีกครั้ง และ river ตกมาเป็น 3♠ BB check 

betting range ที่ river ของเราควรจะเหลือหน้าตาประมาณนี้ :

สีอื่นๆ = raise สีเทา = check

เป็นไพ่ที่ค่อนข้างไม่อันตราย เราสามารถ value bet ต่อได้กับ range เดิม (AK+) แต่เรายังต้อง balance value range ของเรากับ bluff โดยใช้ hand ที่มีผลด้าน blocker ได้ดี และไม่มี showdown value คือ Q9 และ J9 ที่ไม่มีดอกจิก (เพราะคู่แข่งจะมีโอกาส call จาก flush draw มามากขึ้น)

ทำไม hand เหล่านี้ถึงเหมาะจะเป็น bluff? นั่นก็เพราะมัน block hand ที่ strong ที่สุด 3 hand ใน range ของ BB (98, KQ, KJ) โดยไม่ได้ block hand ที่คู่แข่งจะ fold แน่ๆ (suited ดอกจิก ที่ไม่ติด flush draw)

โดยรวมแล้ว เราจะมี value bet 47 combo และมี 18 bluff combo ซึ่งคิดเป็น bluff-to-value ratio ได้ประมาณ 1 ต่อ 2.6 ใกล้เคียงกับอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดคือ 1 ต่อ 2.33 ที่เราคำนวณมาก่อนหน้า (รวมถึงใกล้กับอัตราส่วนของสูตรง่ายๆที่ 1 ต่อ 2 ด้วย)

สรุป

ตอนนี้เรารู้แล้วว่า bluff-to-value ratio หมายถึงอะไร มันคืออัตราส่วนที่เหมาะสมในการเล่นแต่ละรอบ รวมถึงข้อจำกัดของมันด้วย เราสามารถใช้ความรู้ใหม่นี้ในการสร้างเกมของเราให้พัฒนายิ่งขึ้น ในขณะที่เรากำลังฟันฝ่าในแต่ละระดับของเกม

และอย่างที่เคยว่าไว้ เราควรทำตัวให้ยืดหยุ่น ไม่ไปยึดติดกับทฤษฎีอย่างมืดบอด และพยายามหาข้อได้เปรียบของตัวเองให้เจอ!

https://upswingpoker.com/what-is-bluff-to-value-ratio/