วิธีประเมิน range คู่แข่งอย่างแม่นยำ (ตอนที่ 1)

แก่นของกลยุทธ์เกมโป๊กเกอร์เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องของ range

แทนที่จะพยายามเดาไพ่คู่ต่อสู้ว่าเป็น hand อะไร การประเมินไพ่ทั้งของคู่แข่งรวมถึงของเราเป็น “กลุ่มขอบเขตของไพ่” หลังมี action แต่ละอย่าง จะช่วยเราได้มากกว่า

เหตุผลที่เราทำแบบนี้ก็เพราะ การพยายามอ่านไพ่หรืออ่านจิตวิญญาณของคู่ต่อสู่แบบแย่ๆ ด้วยการเดาว่าถือไพ่อะไรอย่างเฉพาะเจาะจง ถือเป็นกลยุทธ์ที่ไม่มีประสิทธิ์ภาพเอามากๆ เหตุผลก็เพราะในทางปฏิบัติแล้ว ผู้เล่นมีโอกาสที่จะสามารถถือได้หลาย hand ในเกือบจะทุกๆสถานการณ์

ดังนั้น เมื่อมีการเล่นกันไปเรื่อยๆ เราก็ควรที่จะประเมินขอบเขต hand ของคู่แข่งไปเรื่อยๆ ด้วยการพยายามประเมิน range ของคู่แข่ง และตีกรอบให้มันแคบลง โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่เราได้รับจาก action แต่ละครั้งของคู่แข่ง

ในบทความนี้ ผมจะสอนวิธีประเมิน range ของคู่แข่ง ทั้งเมื่อเราเป็น aggressor (คนที่จบการเล่นด้วยการ bet/raise) และ caller (คนที่จบการเล่นด้วยการ call) (ในตอนนี้ที่ 1 เราจะมาดูการเล่นเป็น preflop aggressor ก่อน ส่วน preflop caller จะเป็นตอนถัดไป : ผู้แปล)

โดยผมจะตีแผ่ range ไปทีละรอบและแสดงวิธีการคิดให้ดู ในตัวอย่างแต่ละข้อ

บทความนี้ใช้ range ต้นแบบจาก Upswing Lab ในการประเมิน

การประเมิน range ของคู่แข่งเมื่อเราเป็น preflop aggressor

สมมติว่าเรากำลังเล่นเกม $0.50/$1 6-max ออนไลน์ โดยมี effective stack 100bb

Hero ถือไพ่สองใบอยู่ตำแหน่ง UTG

Hero raise ไป $3 4 ตำแหน่งต่อมา fold Villain (BB) call

range ที่ Hero เปิดจากตำแหน่ง UTG อาจจะมีหน้าตาประมาณนี้ :

utg poker range

สีแดง = Open-raise (โน้ตว่า KJo และ pocket pair ที่ต่ำที่สุดเป็นการเปิดที่ค่อนข้าง loose จากตำแหน่งนี้)

และ range ที่ Villain call มาจากตำแหน่ง BB อาจจะเป็นประมาณนี้ :

bb calling poker range vs utg

เราสามารถประเมิน range ของ Villain อย่างมีหลักการได้ในทันที เมื่อเขาเลือกที่จะ call แทนที่จะ 3bet เพราะเรารู้ว่า strong hand อย่าง JJ+, AQs+, AKo น่าจะต้อง 3bet เป็นส่วนใหญ่ hand เหล่านี้จึงไม่น่าจะอยู่ใน calling range ของ Villain ในตอนนี้

อย่าลืมว่า บางครั้งคู่แข่งของเราก็อาจจะมีบาง hand ที่เราไม่คิดว่าจะอยู่ใน range ของเขาด้วย แต่มันก็มีขอบเขตของมันอยู่ และมันก็เกิดขึ้นได้กับทั้งผู้เล่นที่ดีและแย่ได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะ :

  • ผู้เล่นที่ดีมักเล่น mixed strategy (กลยุทธ์แบบผสม) ด้วยการเล่น hand ด้วยกันในหลายแบบ ด้วยความถี่ที่ต่างกัน
  • ผู้เล่นที่แย่มักจะเล่นบาง hand ในวิธีที่คาดไม่ถึง

ดังนั้น เป็นธรรมดาที่บางครั้งเราจะประเมิน range ของคู่แข่งพลาด เพราะการประเมิน range ไม่ใช่เรื่องตายตัว เนื่องจาก action ที่เกิดขึ้นเพียงแค่ชี้ทางว่าผู้เล่นน่าจะมีโอกาสมีกลุ่มของ hand นั้นมากขึ้นหรือน้อยลงเท่านั้น แต่ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะไม่มีวันมีบาง hand ที่ไม่น่าจะมีได้ 

กลับมาที่ hand ของเราอีกครั้ง 

Flop ($6.50) A♥ K♠ 3♣

Villain check Hero bet $2 Villain call

ใน flop นี้ Hero จะได้ประโยชน์จากทั้ง range และ nut advantage อย่างมาก เพราะ Hero สามารถมีได้ combo ของ set ทุกใบ (AA, KK และ 33) รวมไปถึง 2 pair ที่ strong ที่สุดอย่าง AK ขณะที่ hand ที่ strong ที่สุดที่ Villain จะมีได้ คือแค่ 33 เท่านั้น

จากความใหญ่ของ hand ต่างๆที่เป็นไปได้ Hero ไม่น่าจะถูก check-raise ใน board แบบนี้ได้ เมื่อ Villain ตัดสินใจแค่ call ตาม range ของเขาน่าจะเป็นประมาณนี้ :

bb flop poker calling range

ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่า bet size ที่ Hero เลือกใช้ใน flop texture แบบนี้นั้นค่อนข้างเล็ก (ประมาณ 30% ของ pot) ซึ่ง small size bet เหมาะกับ dry board แบบนี้ (board ที่ไม่มีดอกซ้ำกัน) เพราะการ bet เพื่อ deny equity ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญเท่าไหร่ และ Hero ยังมี range advantage เหนือ Villain ค่อนข้างมาก

แม้จะ bet เล็ก แต่มันก็ยังพอจะทำให้เกิด fold equity สำหรับเราได้ประมาณหนึ่ง เมื่อเจอกับ range ของ Villain เพราะ hand ที่เหลืออีกหลาย hand ของ Villain จาก preflop calling range เล่นต่อกับ flop แบบนี้ไม่ได้ เช่น hand อย่าง 87s หรือ J9s รวมไปถึง board ที่มี A high อื่นๆอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ Hero สามารถ bluff โดยการ bet เล็ก ด้วย hand ที่แย่ที่สุดใน range อย่างได้ผลมากขึ้น

Turn ($10.50) A♠

Villain check Hero bet $22 Villain call

การ overbet ตอน turn ของ Hero เป็นการทำให้ range ของผู้เล่นทั้งสอง แคบลงอย่างมาก มันแสดงให้เห็นว่า range ของ Hero เป็น polarized range มากๆ คืออาจเป็นได้ทั้ง hand ที่ strong มากๆ เช่น AQ+ รวมถึง AA หรืออาจจะ weak มากๆ เช่น Q♠J♠.(แต่ bet เพื่อ bluff)

Villain น่าจะ fold hand ที่เหลือทั้งหมดยกเว้น 33 และ Ax รวมไปถึงอาจจะ fold combo Ax ที่ต่ำๆใน range ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการ call ที่บ่อยเกินไปเมื่อเจอ bet size ขนาดใหญ่แบบนี้

River ($54.50) 2♦

Villain check Hero bet all-in $73 Villain call

ถึง river Hero ยังคงยิง overbet ที่ polarized อีกครั้งต่อไป เพื่อแสดงว่าจะเรียก value ให้ได้มากที่สุด จาก Villain ที่ถือ Ax ซึ่ง value range ของ Hero จะประกอบไปด้วย AKs, AKo, A3s, KK และ 33 ซึ่งมีรวมกัน 13 combo และ Hero ยังต้องคิดเรื่องราคาที่ Villain ต้อง call และรวม hand ที่ต้อง bluff เข้าไปบาง hand เพื่อให้ Villain ไม่รู้สึกแตกต่างที่จะ call

Villain ต้อง call $73 เพื่อที่จะชนะ pot $127.50 หรือ pot odds คือ 1.74 : 1 ดังนั้น bet range ที่ river ของ Hero จึงควรมี 1 bluff ทุกๆ 1.74 value hand ดังนั้น ถ้าเรานำ value combo ของ Hero ที่มีอยู่ 13 combo มาหารด้วย pot odds ของ villain คือ 1.74 เราจะได้ we get 13/1.74 = 7.47 เป็น bluff combo ของ hero

ดังนั้น Hero จึงควรมี bluff  ประมาณ 7.47 combo ที่ river เพื่อให้สมดุลกับ value bet ที่มีอยู่ 13 combo ซึ่ง Q♠J♠, Q♠T♠, และ J♠T♠ เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการ bluff รวม 3 combo hand เหล่านี้ไม่มี showdown value และยัง block Ax ที่ strong หลายๆ hand ของ Villain (เช่น AQ, AJ, AT) และ Hero ยังต้องหา bluff อีกประมาณ 4-5 combo ที่เป็นพวก flush draw โพธิ์ดำ ที่ draw ไม่ติด เพื่อสร้างโครงสร้างของการ overbet range ที่ river ให้ balance อย่างสมบูรณ์ 

จะเห็นได้ว่า การประเมิน range ของคู่แข่งในทุกๆ street จะช่วยให้เราจัดการกับ range ของพวกเขาได้เมื่อ board เปิดโอกาส ในตัวอย่างนี้ Hero ใช้ประโยชน์จาก range advantage ตอน turn เพื่อเรียก value ให้ได้มากที่สุด ไปพร้อมๆกับสร้างโอกาสให้ตัวเองสามารถ bluff ได้อย่างได้เปรียบนั่นเอง

(โปรดติดตามต่อในตอนที่ 2)

https://upswingpoker.com/poker-range-technique/