วิธีประเมิน Range คู่แข่งอย่างแม่นยำ (ตอนที่ 2)

หลังจากที่ตอนที่แล้วเราศึกษาเรื่อง range เมื่อเราเป็น preflop aggressor แล้ว ตามลิ้งค์นี้

มาบทความนี้เรามาศึกษากันต่ออีกกรณีกันบ้าง

การประเมิน range ของคู่แข่งเมื่อเราเป็น preflop caller

สมมติว่าเรากำลังเล่นเกม $1/$2 6-max ออนไลน์ โดยมี effective stack 100bb

Hero ถือไพ่สองใบอยู่ตำแหน่ง HJ

UTG fold Hero raise ไปที่ $5 Villain (CO) 3bet ไปที่ $16 อีก 3 ตำแหน่งต่อมา fold  Hero call

range ที่ Hero เปิดจาก HJ อาจจะมีลักษณะดังนี้ :

mp rfi poker range

แดง = Raise (21.27%), ชมพู = Raise หรือ fold ก็ได้ขึ้นอยู่กับการเล่นของคนอื่นๆในโต๊ะ, ฟ้า = Fold

การ 3bet ของ Villain แสดงถึงการเป็น range ที่ strong ถึงอย่างนั้นก็ยังมี bluff อยู่ใน range บ้างเพื่อให้ balance

co 3-bet poker range

แดง = 3bet, ชมพู = 3bet หรือ fold, ส้ม/แดง = 3bets หรือ call

จากตัวอย่างนี้ เราตั้งสมมติฐานว่า Villain จะ 3bet 50% กับ hand สีส้ม/แดง และหมอบทุก hand สีชมพู

เมื่อเจอ 3bet $16 calling range ของ Hero จะมีหน้าตาประมาณนี้ :

mp flop calling range

เขียว = Call, เขียวอ่อน = Call หรือ fold ขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเล่นของคู่แข่ง

ในตัวอย่างนี้ เราให้ Hero fold hand สีเขียวอ่อนทั้งหมด

จุดสังเกตความแตกต่างระหว่าง range ของ Hero และ Villain

  • range ของ Hero จะมี hand กลางๆได้หลาย hand
  • range ของ Villain จะ polarized อย่างมาก

การจำความแตกตางนี้เมื่อเข้าไปเล่น postlop เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเราต้องรู้ว่า board แบบไหนจะทำให้ Hero ได้เปรียบและแบบไหนจะทำให้เสียเปรียบ

Flop ($35) 9♠ 8♠ 7♣

Hero check Villain bet $15.

board นี้ถือเป็น board ที่น่าสนใจมากสำหรับ Hero เพราะตอนนี้ Hero จะมี range advantage เหนือ Villain แล้ว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ตอน preflop ยังเสียเปรียบอยู่ (มักเกิดขึ้นได้ยาก) equity ของ Hero เมื่อเทียบกับ 3bet range ของ Villain ยิ่งทำให้ประเด็นนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

mp calling range vs co 3-bet range

range ของ Hero มี equity ที่ได้เปรียบกว่าประมาณ 56.84% ต่อ 43.16% ใน flop นี้

เช่นเดียวกับการที่ Hero ประเมิน range ของคู่แข่ง Hero ก็คาดได้ว่า Villain จะประเมิน range ของเขาเช่นกัน จากการที่ Hero มีทั้ง range และ nut advantage ใน flop texture แบบนี้ ทำให้ bet range ของ Villian ควรจะต้องแคบลง เพราะ Hero สามารถ check raise ได้บ่อยและได้ผลมากขึ้นใน board แบบนี้ ด้วยความที่มีโอกาสถือ hand ที่ strong อยู่หลาย hand ได้ใน range ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยตารางที่แสดงการกระจายตัวของ equity (สร้างจากโปรแกรม PokerRanger) ได้ ตามภาพข้างล่าง

equity distribution ranges

เปอร์เซ็นในแต่ละช่องที่อยู่ด้านล่างของแต่ละ hand จะบอก equity ของ hand นั้นเมื่อเจอกับ range ของคู่แข่ง

จากตาราง Villain จะไม่มี hand ที่เป็น nut อยู่ใน range เลย ขณะที่ Hero จะมีอยู่หลาย hand โดยมี set 9 combo, 2 pair 5 combo, และ nut straight อีก 4 combo hand ที่เป็น nut เหล่านี้มีอยู่รวมกันประมาณ 20% ของ range ทั้งหมดของ Hero บน flop นี้

hand ใน range ของ Villain ที่ strong กว่าอยู่หลาย hand จะเล่นได้ค่อนข้างลำบากในจุดนี้ ไม่มี hand ไหนเลยที่จะมี value bet ได้มากพอ แต่การ bet เพื่อ deny equity ยังเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับ board ที่ไพ่เรียงกันแบบนี้ ทำให้ bet range ที่เหมาะสมน่าจะเป็นดังในตารางนี้

co flop betting poker range

ฟ้าอ่อน = Bet, เหลือง = Check

มันมีเหตุผลที่ Villain ควร bet กับ JJ และ TT แต่ควร check กับ AA และ KK เพราะทั้ง JJ และ TT นั้น block nut straight ทำให้เล่นต่อได้ดีเมื่อเจอ check raise และมี equity ในการพัฒนา hand พอสมควร ขณะที่ AA และ KK เล่นต่อได้แย่เมื่อเจอ check raise ถ้าเกิด bet ไป จึงทำให้การ check back กับ AA และ KK เป็นสิ่งที่ดีกว่า เพราะจะช่วยทำให้ check range ของ Villain แข็งแกร่งขึ้น บน board ที่อันตรายแบบนี้

bluff ของ Villain กับ board แบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็น flush draw ที่ strong (A♠K♠, A♠Q♠, A♠J♠, A♠3♠, A♠2♠, K♠Q♠) เช่นเดียวกับ straight draw ที่มี backdoor flush draw (A♣J♣) แต่อย่าลืมว่าผู้เล่นที่ดีก็ควรเก็บ flush draw ที่ strong บาง hand ไว้ใน check range เหมือนกัน เช่น A♠5♠ และ A♠4♠ ที่อยู่ใน range นี้

เราสรุปแล้วว่า board นี้เข้าทาง range ของ Hero อย่างมาก ดังนั้นจึงให้ Hero check raise กับ range ตามตารางด้านล่าง :

hero flop check-raising range

ฟ้าอ่อน = Raise, เขียว = Call, ฟ้าเข้ม = Fold.

value range คือ J♣T♣, J♦T♦, J♥T♥, 77, 88, 87s และ 98s รวมกันทั้งสิ้น 14 combo ส่วนที่เหลือคือ bluff range ที่จะมีอยู่ 9 combo ประกอบไปด้วย flush draw, backdoor flush draw, และบาง combo draw (Q♠T♠, Q♣T♣, Q♠J♠, Q♣J♣, K♠T♠-K♠Q♠, A♠T♠, and A♠J♠) ส่วน call range ที่ Hero ต้องปกป้อง คือ แค่ call กับ J♠T♠ และ 99 เพื่อให้ call range ไม่อ่อนแอจนเกินไป

Flop ($35) 9♠ 8♠ 7♣

สรุป Hero check Villain bet $15 Hero raise ไป $50 Villain call

ในการตอบโต้กับการ raise ของ Hero range ของ Villain ที่จะเล่นต่อได้นั้นจะแคบมากๆ เราคาดว่าเขาจะ call ได้กับ JJ, TT, A♠K♠, A♠Q♠ และ A♠J♠ ส่วน draw อื่นๆเช่น K♠Q♠ หรือ A♠T♥ นั้น อาจจะ call หรือ fold ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเล่นของผู้เล่น แต่เราจะสมมติว่าเขาเป็นผู้เล่นที่ tight ที่จะ fold hand นี้ในตัวอย่างนี้

Turn ($135) Q♣

Hero bet all-in $134

จากการที่ Hero มี range advantage เขาสามารถที่จะยิงต่อที่ turn ด้วยการ shove กับทั้งหมดของ range ที่ check raise มาตอน flop ลองดูความเหลื่อมล้ำของ equity ที่คำนวณจาก range ได้ตามภาพข้างล่าง 

turn equity range breakdown

จากที่เรากำหนด range ให้ Villain เราคาดว่าเขาน่าจะ call ได้แค่กับ A♠Q♠  หรืออาจจะกับ JJ/TT combo ที่ไม่มีโพธิ์ดำหรือดอกจิก (เพราะ Villain อยากให้ Hero มี flush draw ที่ไม่ติดคู่ ถ้าเขาต้อง call เขาจึงไม่อยากมี hand ที่จะไป block โพธิ์ดำหรือดอกจิกของ Hero ซึ่งจะเป็นผลดีกับเขามากกว่า) 

บทสรุป

โดยสรุปแล้ว จากทั้งสองตัวอย่างที่ยกมา มันชัดเจนว่าการประเมิน range เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การเล่นของเราจาก 2 เหตุผลที่สำคัญ คือ :

  1. การประเมิน range คู่แข่งของเราจาก board และ action ของเขา ทำให้เรารู้ว่า คู่แข่งเราจะเสียเปรียบด้าน range เพราะการไม่มี hand ที่ strong และเมื่อประเมิน range ของเราในแบบเดียวกัน จะเห็นว่าเราได้เปรียบกว่าอย่างชัดเจน
  2. ด้วยการที่มีจำนวน hand ที่มี value ที่ strong อยู่หลาย hand ทำให้เราสามารถเพิ่มความได้เปรียบให้ range เราแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเจอกับ range ของคู่แข่งที่ weak กว่าได้โดยการ bluff ได้อย่างมีประสิทธิภาพ value bet ได้อย่างดุดันมากขึ้น ทำให้เราได้ชิพเพิ่มอย่างมหาศาล!

การเล่นใน session ต่อไป ลองพยายามประเมิน range ของคู่แข่งและของตัวเองในทุกๆ action ดู การทำแบบนี้จะช่วยให้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของเราเฉียบคมขึ้นได้อย่างรวดเร็วแน่นอน

https://upswingpoker.com/poker-range-technique/