ลักษณะของ board แบบ static และ dynamic ในโป๊กเกอร์เป็นยังไง?

เมื่อลองอ่านหนังสือเกี่ยวกับโป๊กเกอร์แบบผ่านๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราอาจจะเห็นการใช้คำว่า “wet” และ “dry” มากกว่าที่คิด เหตุผลเบื้องหลังการใช้คำเหล่านี้ก็คือ คำพวกนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการอธิบายลักษณะของ board (board texture) (โดยเฉพาะลักษณะของ flop) ในเกม No Limit Hold’em จนกระทั่งคนส่วนใหญ่เริ่มใช้โดยไม่รู้ว่าความหมายจริงๆของมันคืออะไร

ตามบริบทแล้ว คำพวกนี้ใช้เพื่ออธิบายว่า board บางลักษณะมันเกี่ยวข้องกับ preflop range ของผู้เล่นมากแค่ไหน แต่นอกจากนั้นแล้ว มันก็ยังใช้เพื่ออธิบายว่า board นั้นมี draw มากแค่ไหนเช่นกัน ซึ่งความแตกต่างนี้อาจจะทำให้เราสับสนว่า แล้วถ้า board มันเกี่ยวข้องกับ range ของผู้เล่นมากๆ แต่ไม่ได้มี draw เยอะ งั้นตกลง board นี้มัน wet หรือ dry กันแน่?

อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณ หนังสือที่เยี่ยมยอดของ Will Tipton ที่ชื่อว่า  Expert Heads-Up No Limit Hold’em ซึ่งเป็นเล่มที่นักเล่นโป๊กเกอร์ระดับแอดวานซ์ทุกคนต้องอ่าน ที่ทำให้เราไม่ต้องสับสนกับการใช้คำพวกนั้น โดยใช้ศัพท์ที่เข้าใจง่ายกว่า ซึ่งใช้คำว่า “static” และ “dynamic” แทน ซึ่งตรงกับวัตถประสงค์และการทดลองในการใช้เครื่องคำนวณ GTO ต่างๆ อย่างพอดิบพอดี ทำให้เราระบุระดับของความแม่นยำได้อย่างมีเหตุผล ว่าปัจจัยเหล่านั้นจะมีผลต่อการเล่นของเราอย่างไร 

flop

ลักษณะของ board แบบ static เป็นอย่างไร?

ในความหมายแบบง่ายๆ static board คือ board ที่ equity ของ hand มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้น้อย เมื่อไพ่ใบต่อไปออกมา ถ้าเราถามคนส่วนใหญ่ว่า “flop ที่ dry ที่สุดใน NLHE คืออะไร?” อาจจะได้รับคำตอบว่า “2-2-2” ซึ่งนี่คือตัวอย่างว่าทำไมคำว่า “static” ถึงใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าคำว่า “dry”

ในความเป็นจริง flop ที่ static ที่สุดใน NLHE ก็คือ A-A-A เพราะ flop อย่าง 2-2-2 แม้แต่ hand อย่าง 98s อาจจะยังสามารถพัฒนามาชนะคู่ 66 ได้ หรือ KJ ก็สามารถพัฒนามาชนะ AQ ได้เช่นกัน ขณะที่ flop อย่าง A-A-A นั้น ใครที่มี A คือได้การันตี equity 100% หรือแม้แต่ KK ก็ยังมี equity เกือบ 100% เมื่อเจอกับทุก hand ยกเว้น A (มันอาจจะถูกแบ่งเมื่อกับ Kx อื่น ถ้ามี A ใบที่ 4 ตก หรืออาจจะแพ้ให้กับ Quards อื่นๆได้)

โดยสรุปแล้ว บน board ที่ static equity จะมีลักษณะเป็น polarized มากกว่า ตัวอย่างเช่น บน flop A-9-3 rainbow (คนละดอกทั้งหมด) อาจจะสามารถแบ่ง hand ออกไป 2 กลุ่มได้แบบกว้างๆ คือกลุ่ม เท่ากับหรือดีกว่า A-2 กับกลุ่ม แย่กว่า A-2 ซึ่ง equity ของ A2 เมื่อเจอกับ range ของคู่แข่งจะมีโอกาสสูงมากที่จะชนะ hand อันดับ 2 อย่าง KK 

เหตุผลก็เพราะมีปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง นั่นก็คือ การมี high card บนน board ยิ่งไพ่ high card สูงเท่าไหร่ใบน board ก็ยิ่งทำให้ board static มากขึ้น เพราะมันยากมากที่ hand ที่ยังไม่ติดคู่ จะพัฒนามาติดคู่เป็น top pair ได้ ทำให้ equity ของ hand ที่ไม่มีคู่มีโอกาสเพิ่มขึ้นได้น้อย เช่น flop A-J-7-2 rainbow จะ static น้อยกว่า K-7-2 ซึ่งจากการที่มันไม่มี gutshot หรือ draw อื่นๆเลย ทำให้ K-7-2 rainbow คือ flop ที่ static ที่สุดเท่าที่เราจะเจอได้ flop หนึ่ง

ลักษณะของ board แบบ dynamic เป็นอย่างไร?

dynamic board นั้นก็ตรงข้ามกับ static board อย่างชัดเจน ซึ่ง dynamic board คือ board ที่ equity ของ hand มีโอกาสเปลี่ยนได้สูง เมื่อไพ่ต่อไปออกมา ถ้าเรามองหลักการที่เราใช้กับ static board แบบย้อนกลับ ก็จะทำให้เราเข้าใจว่า ยิ่งไพ่ใหญ่สุดใน board เล็กลงมากเท่าไหร่ board ก็ยิ่ง dynamic มากขึ้นเท่านั้น เราอาจจะสรุปได้ว่า board ที่มี draw จำนวนมาก คือ board ที่ dynamic มากๆ ไม่ว่า draw จะติดที่หรือไม่ที่ turn equity ของ hand ก็ยังมีโอกาสเปลี่ยนได้สูงอยู่

แล้ว board แบบไหนที่ dynamic ที่สุดใน NLHE? มันคือ 4-3-2 monotone (ดอกเดียวกันหมด) เพราะถึงแม้ไพ่ที่ turn จะออกมา blank (ไม่เกี่ยวข้องกับ board เลย) ที่สุด ก็อาจทำให้ใครมี top pair ที่ดีได้แค่นั้น แม้แต่ 87 โพธิ์ดำ ก็สามารถพัฒนาเป็น top pair ใน board 4-3-2 ข้าวหลามตัดได้ ขณะที่ A, 5 หรือ 6 จะทำให้ติด straight ไพ่ข้าวหลามตัดใดๆ จะทำให้ติด flush และ 4, 3 หรือ 2 จะทำให้ board มีคู่ แม้แต่คู่ KK สีดำ (โพ่ธิ์ดำและดอกจิก) บน board 4-3-2 ข้าวหลามตัด ก็อาจจะทำให้รู้สึกตั้งแต่ไม่ค่อยสบายใจ ไปจนถึงไม่พอใจมากๆได้ จากโอกาสที่ turn จะออกมาได้ 27 แบบทั้งหมด

นั่นทำให้ dynamic board มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับ board ที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า “wet” เพราะคนพวกนั้นมักจะ cal preflop ด้วย hand ที่มีโอกาสติด straight หรือ flush ได้ ทำให้ range ของเขามักจะมีโอกาสติดกับ board แบบ dynamic ได้มาก

มันเลยหมายความว่า dynamic board มักจะทำให้ preflop caller มี range advantage มากกว่า โดยเฉพาะ board ที่มีไพ่อยู่ระหว่าง 7 ถึง J ขณะที่ board ที่มีไพ่ต่ำๆ และ dynamic มากๆ มักจะเข้าทาง preflop raiser มากกว่า เพราะมีโอกาสน้อยที่ caller จะติด 2 pair, set หรือ straight ใน board เหล่านั้น

วิธีการเล่นตามลักษณะของ board

(ข้อสรุปในส่วนถัดไปมาจากการทดลองกว่า 100 ชั่วโมงโดยใช้  Simple Postflop ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ GTO ที่ใช้รัน flop, turn และ river ในหลายๆรูปแบบที่ซับซ้อนได้)

จากหลักคิดตามที่ว่ามา ทำให้เรามีหลักคิดในการเล่นสำหรับ board แต่ละรูปแบบได้ ใน static board เราสามารถพูดบาางอย่างได้อย่างค่อนข้างมั่นใจว่า เรามีโอกาสจะ bluff ได้น้อย เมื่อเรา raise ถ้าคู่แข่ง bet มา เพราะมันมี draw น้อยที่เราจะ semi bluff ได้ ทำให้มีโอกาสยากมากๆที่เราจะมี hand กว้างๆที่หลากหลาย เพราะเรามักจะไม่ทำบ่อย และ value range ของเราจะมีเฉพาะบาง combo ของ hand เท่านั้น 

เมื่อเรารู้แบบนี้ และจำไว้ได้ว่า เราสามารถ slowplay hand ใหญ่ๆ ใน static board ได้ เพราะมีโอกาสน้อยที่จะไพ่แย่ๆออกมาใน street ถัดๆไป กลยุทธ์ของเราใน static board คือการ bet และ call ตอน flop และ turn เป็นหลัก แต่จะ raise และ fold น้อย ทำให้เราไปถึง river ด้วย range ที่ค่อนข้างเคลียร์ชัดระหว่าง hand ที่เป็น value หรือ bluff หรือจะเป็น bluff catcher ทำให้การตัดสินใจที่ river ของเราจะค่อนข้างชัดเจน และตรงไปตรงมามากกว่า  

ในทางตรงกันข้ามกับ dynamic board การ bet และ call บ่อยๆจะทำให้เราเข้าสู่สถานการณ์ที่เราไม่สามารถ bluff ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ และต้องเล่นแบบคาดเดา เมื่อไพ่ที่ turn หรือ river ออกมาไม่ดี อย่างที่เราต้องการ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว จะทำให้เราเข้าใจว่า dynamic board มักจะกำหนดให้เราเล่นแบบ check, raise หรือ fold มากกว่า เพราะมันสามารถทำให้เราสร้างความกดดันให้กับ range ของคญู่แข่ง และทำให้คู่แข่งมีโอกาส fold hand ที่มี equity สูงๆ ให้เราได้มาก ทำให้เรามีโอกาสกิน stack คู่แข่งได้ตั้งแต่ street แรกๆ และลดโอกาสที่เราต้อง fold hand ที่พอจะมี equity หรือต้อง fold เพราะรู้ว่า ใน street ถัดๆไปมีโอกาสที่ board จะไม่เข้าทางเราสูง

คนส่วนใหญ่มักจะยึดติดกับการที่ต้องพยายามเรียก value กับคู่ AA หรือคู่ในแนวเดียวกันบน flop T-9-8 แบบ monotone ที่เราไม่มีดอกนั้นบนมือ ทั้งๆที่เราควรจะต้องคิดถึงผลของความ strong ที่ลดลงระหว่างการเล่นที่เราอาจจะมี equity แค่ประมาณ 50% เมื่อเจอกับ range ของคู่แข่ง แข่ง value ของ hand ของคู่แข่งที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ใน street ถัดๆไป ที่อาจจะทำให้ equity ของคู่แข่งเพิ่มขึ้นกว่า 65-70% ได้

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรา flop nut กับ QJ ดอกเดียวกันสีดำบน flop แล้วปล่อยให้คู่แข่งมีโอกาสติด flush หรือ full house ที่ turn เพราะเราตัดสินใจ slowplay ถือเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง ดังนั้น การรู้ความแตกต่างระหว่าง 65% กับ 50% จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ equity บน dynamic board จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะอยู่ในช่วงที่น้อยกว่า 30% หรือมากกว่า 70% ดังนั้นต่อให้เรานำด้วย 1 pair ก็มีโอกาสนำไม่เยอะ จนกว่าเราจะเล่นถึง turn หรือ river

เมื่อ board มีลักษณะอยู่กลางๆ

แน่นอนว่า flop และ board ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่างไม่ static ก็ dynamic มันอาจจะเป็น board อย่าง K-T-3 มีข้าวหลามตัด 2 ใบ หรือ Q-9-6 rainbow หรือ T-5-4 monotone ในกรณีเหล่านี้ เราต้องใช้ความเข้าใจในหลักการที่พูดถึงข้างต้น ร่วมกับการอ่านคู่แข่ง และการประเมิน range ของพวกเขา เพื่อตัดสินใจให้ละเอียดขึ้น ที่อาจจะช่วยให้เราปรับการตัดสินใจให้เหมาะ เมื่อต้องประเมินทุกตัวแปรรวมกัน

เราอาจจะตัดสินใจ check-raise บน flop ที่ static มากๆ เมื่อเจอกับคู่แข่งที่ c-bet บ่อยเกินไปได้ หรือเราอาจจะ slowplay nut flush กับผู้เล่นที่ไม่เคยให้เครดิตว่าเราจะมี strong hand เมื่อ turn ออกมา blank ก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เราควรจะจำไว้ว่า หลักการของ equity และการกระจายตัวของ range ยังเป็นจริงอยู่เสมอ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และความเข้าใจเกี่ยวกับ flop texture ที่ static และ dynamic ยังเป็นส่วนสำคัญของความเข้าใจในรากฐานของเกม No-Limit Hold’em อีกด้วย ซึ่งแนวคิดการปรับความคิดออกจากสูตรสำเร็จ ได้ถูกแนะนำครั้งแรกในหนังสือของ Will Tipton และเราจะพบว่าการเล่น postflop ของเราจะก้าวขึ้นไปอีกระดับได้อย่างรวดเร็ว

https://www.tournamentpokeredge.com/static-and-dynamic-board-textures-in-poker/