ความผิดพลาดเชิงกลยุทธ์ 3 ประการที่ควรหลีกเลี่ยงในทัวร์นาเมนต์จาก Nick Petrangelo

ขอแนะนำผู้เล่นอันทรงเกียรติคนล่าสุดที่เพิ่งเข้าร่วมทีมของ Upswing : Nick Petrangelo

Nick คือที่เอาชนะทัวร์นาเมนต์ได้สำเร็จ ที่เราอาจจะเคยได้เห็นเขาเล่นทัวร์นาเมนต์ที่มี buy-in แพงที่สุดในโลก เขาอยู่อันดับที่ 30 ของนักเล่นที่ทำเงินมากที่สุดตลอดกาล ซึ่งทำเงินรางวัลรวมไปประมาณ 16 ล้านเหรียญ

เมื่อ 4 เดือนที่แล้ว เขาก็เพิ่งคว้าเงินรางวัลไป 5.7 ล้านเหรียญจากการคว้าแชมป์กำไล WSOP ได้

เขาใช้ชื่อ “caecilius” ในการเล่นที่ PokerStars โดยมีไฮไลท์ที่สำคัญในการเล่นออนไลน์คือการคว้าแชมป์ WCOOP $25k High Roller คว้าเงินรางวัล $624k และรายการ Sunday Million กับเงินรางวัล $209k

เรากำลังจากได้เรียนรู้จากส่วนหนึ่งของคอร์สแบบเอ็กซ์คลูซีฟของ Kick คือ Winning Poker Tournaments โดยเนื้อหาแต่ละส่วนต่อไปนี้จะบอกอธิบายถึงความผิดพลาดโดยทั่วไป 3 ประการ ที่นักเล่นทัวร์นาเมนต์ส่วนใหญ่ชอบทำ รวมถึงวิธีการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเหล่านั้นด้วยตัวเอง

ไปลุยกันเลย!

ความผิดพลาดที่ #1: c-bet เล็ก (33% pot) บน A-high board เมื่อเจอกับ BB

คนที่เล่นทัวร์นาเมนต์ส่วนใหญ่มักจะใช้ขนาด bet เล็กในการ c-bet มาหลายปี โดยเฉพาะกับ board ที่เป็น A-high แต่แท้จริงแล้ว A-high board เป็น flop ประเภทที่ไม่ควร c-bet เล็กมากที่สุด

เพื่อพิสูจน์คำพูดนี้ Nick ได้ตี่แผ่กลยุทธ์ที่ solver แนะนำมา กับ board 3 รูปแบบ (LJ vs. BB) :

  • A♠ J♣ 4♣
  • A♣ K♦ 2♠
  • A♦ 5♥ 4♠

Nick ได้แนะนำมาดังนี้ :

“จะเห็นว่า board เหล่านี้คือกลุ่มที่ผู้เล่นทั่วไปที่ไม่ได้มีฝีมือมากนัก หรือคนที่เล่นพร้อมกันหลายๆโต๊ะ นำมาจัดประเภทรวมกัน ซึ่งผมคิดว่า เรามักจะเห็นคนพวกนี้ c-bet ที่ pot ด้วยขนาด 33% ด้วยความถี่ที่บ่อยมากๆ” 

“สิ่งที่ผมอยากจะอธิบายในวันนี้คือ การ c-bet ด้วยขนาด 33% ของ pot ไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสมเท่าไหร่บน board เหล่านี้ อันที่จริง เป็นวิธีที่ไม่ควรทำเลย การ c-bet 33% ของ pot อาจจะสามารถทำได้กับเฉพาะ board A J 4♣ ได้บ้างบางครั้งเท่านั้น”

เราลองมาลงลึกกับคำแนะนำจาก solver รวมถึงคำแนะนำของ Nick กับ board เหล่านี้กันอีกสักนิด

ความถี่ในการ bet แต่ละขนาดที่ solver แนะนำกับ flop A♠ J♣ 4♣ คือ :

  • Bet 90% ของ pot ประมาณ 37.82% ของ hand ทั้งหมด
  • Bet 60% ของ pot ประมาณ 20.08% ของ hand ทั้งหมด
  • Bet 33% ของ pot ประมาณ 21.62% ของ hand ทั้งหมด
  • Check ประมาณ 20.48% ของ hand ทั้งหมด

ซึ่ง Nick ได้อธิบายไว้ว่า :

“ผู้เล่นที่ IP จะ check back แค่ 20% ดังนั้นแน่นอนว่าต้อง c-bet บ่อยเป็นหลัก แต่จุดนี้ควรจะ bet 90% มากที่สุด ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นคนเล่นแบบนี้เท่าไหร่ แต่ผมคิดว่ามันสมเหตุสมผลมาก เมื่อเราคิดว่า range ของทั้ง 2 คนมันสัมพันธ์กันยังไง”

“range ของ BB จะกว้างมากๆ เขามีโอกาสที่จะมี flush draw ได้เยอะมาก ที่ต้องพร้อมจ่ายเงินเข้าไปใน pot แต่ ส่วนใหญ่มักจะทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ รวมถึงเขาอาจจะมี Ax ที่ weak อยู่บ้าง ที่มักจะพร้อมที่จะ fold ที่ turn หรือ river” 

“ขณะที่เรามีกลุ่ม hand ที่ strong อยู่มากใน board นี้ที่เราต้องกุมความได้เปรียบโดยการใส่เงินเข้า pot เมื่อคู่แข่งต้อง call ให้ได้เร็วที่สุด และเรายังมีกลุ่มของ hand อีกมากที่มี equity พอประมาณ แต่มี EV สูงมากที่จะ bet ต่อเนื่อง”

จากนั้น Nick ก็ได้เลื่อนเมาส์ไปที่ pocker pair เล็กๆ และแนะนำว่า :

“เราต้องใช้ hand พวกนี้ทำให้เขา fold กับ hand ที่มี equity สูงกว่าเรามากๆ เช่นเรา bet ใหญ่กับ 66 เพื่อให้เขา fold กับ hand อย่าง J7 แต่ปกติแล้วจะชนะเราได้”

ความถี่ในการ bet แต่ละขนาดที่ solver แนะนำกับ flop A♣ K♦ 2♠ คือ :

  • Bet 90% pot ประมาณ 50.47% ของ hand ทั้งหมด
  • Bet 60% pot ประมาณ 3.35% ของ hand ทั้งหมด
  • Bet 33% pot ประมาณ 2.51% ของ hand ทั้งหมด
  • Check ประมาณ 43.67% ของ hand ทั้งหมด

“กับ board อย่าง A J 4♣ เราอาจจะ bet เล็กกับบาง combo ของ KK และกับหลาย combo ของ QQ (เพราะเราต้องปกป้อง QQ ขณะที่ KK ไม่ต้องมากเท่า) QQ ต้อง bet เพื่อปกป้องมากๆ แล้วเราก็ยังต้อง bet แบบ linear กับ JTs หรือ J9s เพื่อป้องป้อง value บ้าง”

“ซึ่งไม่ใช่กับกรณีของ board อย่าง A K 2♠ เรายังมี equity เหมือนเดิมในการเจอกับ range ที่ defend มา เช่นเดียวกับ board อื่นๆ แต่เราไม่มีแรงจูงใจที่จะต้องใช้กลยุทธ์การ bet แบบ linear ด้วยขนาดเล็กๆ”

“นั่นคือความแตกต่างที่สำคัญของ hand นี้ เราไม่จำเป็นต้องปกป้องใน flop นี้มาก และเรายังได้ประโยชน์จากการที่คู่แข่งใส่เงินใน pot เพิ่มขึ้นกับ hand พวก broadway หรือ backdoor ทั้งหลาย เมื่อเราถือ Kx เราจึงควร check กับ Kx ที่ weak และไม่คุ้มที่จะใส่เงินเข้า pot (เช่น K6-K9) เพราะมันไม่ต้องการการปกป้อง และการเพิ่มเงินเข้าไปใน pot ไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่ เพราะมักจะมี Kx ที่ใหญ่กว่าที่ชนะเราได้อีกหลาย hand”

“ขณะที่ hand อย่าง QQ, JJ หรือ TT ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการปกป้องบน board A-K-2 และได้ประโยชน์จากการ check ไปจนจบเช่นกัน แต่เราจะใช้การ bet ใหญ่กับพวก pocket pair เล็กๆ เท่านั้น ที่เหมาะจะ bet ต่อเนื่อง”

“เรายัง c-bet ใหญ่กับ hand อื่นๆที่ไม่ได้*ตัดสินใจในเชิงสัญชาตญาณเช่นกัน”

(*ตรงจุดนี้ Nick ได้เลื่อนไปชี้ที่กลุ่ม pocket pair เล็กๆ และพวก bluff ที่มี equity น้อยๆ เช่น 56s, 76s และ suited connector อื่นๆ แต่ไม่ติดอะไรบน board ที่ solver แนะนำให้ bet ด้วยความถี่หลายๆขนาด )

ความถี่ในการ bet แต่ละขนาดที่ solver แนะนำกับ flop A♦ 5♥ 4♠ are:

  • Bet 90% pot ประมาณ 11.56% ของ hand ทั้งหมด
  • Bet 60% pot ประมาณ 11.82% ของ hand ทั้งหมด
  • Bet 33% pot ประมาณ 13.58% ของ hand ทั้งหมด
  • Check ประมาณ 63.04% ของ hand ทั้งหมด

“flop A-5-4 นี้เป็น flop ที่ต้อง check back บ่อยที่สุด แน่นอนว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เราไม่มี A5o และ A4o และสิ่งที่เกิดขึ้นอีกอย่าง ที่อาจจะเห็นได้ชัดน้อยกว่า ก็คือ equity ของ BB ใน board นี้มัน polarized มากๆ (ถ้าไม่สูงไปเลย ก็ต่ำไปเลย)  

*ตอนนี้ Nick เลื่อนไปชี้ที่ KQs, KJs, KTs

เขาเสริมว่า เราไม่จำเป็นต้อง bet ต่อเนื่องกับ hand เหล่านั้นตอน turn หลังจากถูก call บ่อยๆ เราจะยิงต่อเนื่องกับเฉพาะ high card และไม่ทำแม้แต่กับ hand ที่เราติดคู่แล้ว  

ถ้าเรามี suited connector ที่มี backdoor straight draw เช่น 98s or T8s เราก็ไม่จำเป็นต้อง bet ต่อเนื่องบ่อยเช่นกัน เพราะ hand ที่เรามี gutshot ก็มักจะไป block range ของ BB เช่นกัน

The  hand ที่เป็น high card จะได้ประโยชน์มากๆจากการ check back เพราะมีโอกาสทำให้เราติด pair ร่วมกับ BB (ที่เขาอาจจะ fold ไปถ้าเรา bet ที่ flop) หรือมี flush draw ร่วมกับ BB ได้เช่นกัน 

ความผิดพลาดที่ #2: bluff โดยการ check-raise แค่เฉพาะกับ draw ที่มี equity สูงๆ

ผู้เล่นทัวร์นาเมนต์ส่วนใหญ่ชอบที่จะ c-bet และวิธีที่ดีที่สุดที่จะจัดการกับพวกชอบ c-bet ก็คือการใช้กลยุทธ์ check-raise อย่างดุดันและมีแบบแผน แต่รู้หรือไม่ว่าเราควรใช้วิธีนี้กับ hand ประเภทไหนกันแน่? มาลองดูตัวอย่างเพื่อตอบคำถามนี้กัน

ในการแข่ง WCOOP $25k High Roller Blind 350/700/90 ผู้เล่น 7 คน

Nick ถือ A♠ J♣ อยู่ที่ BB

UTG (66k stack) raise มา 1,554 อีก 5 คน folds Nick call

Flop (4,088): J♥ 3♣ 2♥

Nick check UTG bet 1,331 Nick raise กลับไป 4,200

(คนที่อยู่ UTG ก็คือ “RomanHLD” ขาประจำมือโปรในแคชเกม a tough cash ผมจึงต้องเสริมว่า Nick ใช้ check-raise ด้วยขนาดที่ใหญ่เพราะคิดว่าน่าจะเหมาะกว่า)

Nick ตีแผ่ hand 3 กลุ่มที่ควรจะใช้เป็น check-raise bluff เพื่อความ “โหดเหี้ยม” มาเริ่มจากกลุ่มที่ใช้กันอย่างชัดเจนก่อน

  1. draw ที่มี equity สูง

flop อย่าง J♥ 3♣ 2♥ เป็น flop ประเภทที่มีทั้ง flush draw ที่มี straight draws หรื backdoor straight draw (เช่น Ah4h, K4, Q5) และ combo draw (เช่น 65, 64 หรือ 54)

hand เหล่านี้ชัดเจนที่สุดว่าเหมาะจะเป็น check-raise bluff ซึ่งคนส่วนใหญ่คุ้นเคยอยู่แล้ว

ผู้เล่นหลายคนเลือก check-raise bluff เฉพาะกับ hand ประเภทนี้ แต่ผลก็คือ จะทำให้คู่ต่อสู่ exploit check-rasing range ที่มี equity สูงของเรา ด้วยการ fold บ่อยขึ้นได้ ลองคิดดูว่า ถ้าเรามีแต่การ check-raise แค่เฉพาะกับ hand ที่จะทำให้ติดแต่ hand ใหญ่ๆ แล้วคู่แข่งจะมีเหตุผลอะไรที่จะต้องเล่นต่อกับ hand ที่ไม่แข็งแกร่งมากเมื่อเจอเรา check-raise?

เพื่อให้คู่แข่งเล่นกับเรายากขึ้น เราต้องมี check-raise ที่ผสมผสาน hand ที่หลากหลายจากอีก 2 ประเภทต่อไปนี้เข้าไปด้วย

2. hand ที่มี backdoor และติด pair ต่ำๆที่มีโอกาสเป็น nut

“ใน flop J♥ 3♣ 2♥  hand ที่เหมาะจะ bluff ในหมวดนี้เช่น 4♣ 2♣, 5♣ 2♣, และ 65o (ที่มีโพธิ์แดง) ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่มักจะเลือก check-call กับ hand เหล่านี้เป็นพื้นฐาน หรือบางคนที่ tight มากๆก็อาจจะ fold ไปเลย แต่ Nick และ solver จะแนะนำให้ใช้การ check-raise จะดีกว่า เพราะมันมีโอกาสยากที่จะชนะ pot ด้วยวิธีอื่น”

hand อย่าง 4♠ 2♠ หรือ 65o (ที่ไม่มีโพธิ์แดง) ก็อาจจะสามารถ check-raise ได้ด้วยเหตตุผลเดียวกัน แต่ทำไม่บ่อยเท่า 

3. bluff อย่างโหดเหี้ยม

hand ในกลุ่มนี้มักจะต้องมี backdoor flush draw และ blocker ที่ทรงพลัง และทั้งหมดต้องมี straight draw หรือ backdoor straight draw ด้วย เช่น A♥6x, A♥5x, A♥4x, K♥5x, and K♥4x. Q♥5x และ Q♥4x ก็เป็น hand ที่ดีถ้าอยู่ใน preflop range ของเรา

เหตุผลที่ hand พวกนี้เหมาะนำมาเล่นก็เพราะ :

  • มันทำให้เรามี draw (และโอกาสในการ bet ต่อเนื่อง) ในหลายๆ turn
  • มันช่วย block top pair และ overpair ที่แข็งแกร่ง (เช่น AA, KK, QQ, AJ, KJ, หรือ QJ)
  • เมื่อบอร์ดมีโอกาสติด flush เราใช้ A♥ หรือ K♥ เป็น blocker ว่าเราติด flush ได้

การใช้ hand ในกลุ่มนี้เหมาะมากกับจังหวะที่เราต้องมีการ check-raise มากๆ เหมือนอย่างในตัวอย่างข้างต้น

ความผิดพลาดที่ #3: 3-bet bluff กับ suited connector และ suited Ax เมื่อเหลือ stack น้อยกว่า 40bb

เมื่อเรามี deep stack การ 3-bet bluff ด้วย hand ที่มีความสามารถในการเล่นต่อได้ดีนั้น ค่อนข้างสมเหตุผล แต่เราต้องเปลี่ยนวิธีการ 3-bet มาเน้นกับ hand ที่มี blocker แทน เมื่อ stack เหลือน้อยกว่า 40-50bb

เราควร 3-bet กับ hand ที่สามารถติด top pair และ straight draw ที่ strong มากๆได้ hand เหล่านี้เหมาะกับทั้ง value bet และ bluff ตอน postflop ในสถานการณ์ที่  stack-to-pot ratio (SPR) เหลือน้อย

ตัวอย่าง :

ในการแข่ง SCOOP $5k Blind 1,750/3,500/450 ผู้เล่น 7 คน

Nick ถือ K♥ Q♣ อยู่ที่ HJ

UTG fold LJ raise มา 8,050 Nick 3-bet ไป 28,500 อีก 4 คน fold LJ call

hand ที่ Nick แนะนำให้ 3-bet แบบตัวอย่างข้างต้นก็เช่น :

  • Suited 9x เช่น K9s, Q9s, หรือ J9s
  • Offsuit broadway เช่น KQo หรือ AJo

hand อย่าง 76s หรือ A3s ไม่เหมาะกับการ 3-bet ใน stack ระดับนี้ โดยเฉพาะเมื่อเจอการเปิดจากตำแหน่งแรกๆ เพราะเรามักจะเหลือชิพไม่พอที่จะวางแผนเล่นตอน postflop และ hand เล็กๆเหล่านั้น มักจะต้องเล่นถึง turn หรือ river เพื่อ realize equity ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เล่นยาก เมื่อเหลือขนาดให้ bet มากสุดแค่ 2 เท่าของ pot   คอร์ส Winning Poker Tournaments โดย Nick Petrangelo 

หลังจากได้ดูคลิปวิดีโอบางส่วนจากคอร์สดังกล่าว ผมแทบจะอดทึ่งกับความเชี่ยวชาญของ Nick และความสามารถในการอธิบายเกมที่เปี่ยมไปด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งไม่ได้ 

ถ้าสนใจที่จะเริ่มเรียนรู้จาก Nick คุณสามารถลงเรียนคอร์ส Winning Poker Tournaments ได้ที่นี่!

https://upswingpoker.com/nick-petrangelo-tournament-course-mistakes/