ข้อดีข้อเสียของการ c-bet ด้วยขนาด 66% และ 100% ของ pot (สุดยอดคำแนะนำ ตอนที่ 2)

พร้อมจะพัฒนาทักษะการ c-bet ที่ flop แล้วรึยัง? วันนี้เราจะมาศึกษาข้อดีและข้อเสียของขนาดการ c-bet ที่นิยมใช้ คือ 66% และ 100% ของ pot กัน 

นี่คือตอนที่ 2 ของสุดยอดคำแนะนำในการเลือกไซส์ c-bet ที่ flop อ่านตอนที่ 1 ได้ที่นี่

นี่คือสถานการณ์ตัวอย่างที่เราจะใช้ตลอดบทความนี้ :

เรากำลังเล่นแคชเกม เกม  $0.50/$1.00 คนก่อนหน้า fold มาถึงเราที่อยู่ BTN เรา raise $2.50 BB call และ flop ออกมาเป็น :

Q♠ T♦ 5♥

BB check เรามีแฮนด์ที่สามารถ c-bet ได้ แต่ เราควรใช้ขนาดของการ c-bet เท่าไหร่ดี?

การ c-bet 33% pot

เราพูดถึงไซส์นี้กันไปแล้ว ในตอนที่ 1 และนี่คือข้อสรุป สำหรับฟื้นความจำในเรื่องนี้ :

  • เป้าหมายหลักของการใช้ไซส์นี่ คือ เพื่อสร้างการปกป้อง โดยทำให้คู่แข่ง fold แฮนด์ที่ตามเราอยู่ ในราคาถูก
  • เราสามารถ เรียก value ขนาดเล็ก ได้ โดยใช้การ bet ไซส์นี้
  • เราควรใช้ไซส์นี้เมื่อต้องการ bet กับ แฮนด์ส่วนใหญ่ใน range.
  • การตอบโต้ของคู่แข่งก็คือ เขาควร call ให้มากขึ้นกับหลายๆแฮนด์ เทียบกับเมื่อเจอการ bet ใหญ่

ทีนี้เราจะมาดูการใช้ไซส์ที่เราอาจจะเคยใช้กันมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง

การ c-bet 66% pot

การใช้ไซส์นี้ จะทำให้เรา เรียก value ได้มากขึ้น กว่าการใช้ c-bet เล็ก ในขณะที่ยังได้รับ การปกป้อง ไปพร้อมๆกัน

โดยทั่วไปแล้ว เราควร bet กับแฮนด์จำนวนน้อย เมื่อใช้ไซส์นี้ ซึ่งแฮนด์ที่เหมาะสม ควรจะต้องชัดเจนว่า อยู่ในกลุ่มใช้เพื่อการ value bet หรือ bluff เท่านั้น แฮนด์กลางๆควรจะ bet บ่อย โดยใช้การ c-bet ขนาดเล็ก มากกว่า 

คู่แข่งของเราควรจะตอบโต้กับการ bet ไซส์นี้ด้วยการ fold ให้มากขึ้น เมื่อเทียบกับการเจอ c-bet เล็ก เขาอาจจะยังสามารถ check-raise ได้บางครั้ง กับแฮนด์ที่ strong เช่น 2 pair หรือดีกว่านั้น หรือเป็นการ bluff ที่เหมาะสม บน board Q-T-5 เมื่อเราเจอ check-raise เราควรเล่นต่อกับ draw ที่ดี และกับ value bet ส่วนใหญ่ของเรา (ถ้าไม่ทั้งหมด)

ถ้าถูก call ที่ flop แล้ว ตอน turn เราก็ควร bet ต่อด้วยขนาดที่เหมาะสม กับแฮนด์ส่วนหนึ่งใน range ถ้าไม่เจอกับการ run แย่ๆ เราควรยิง triple barrel (bet ต่อครั้งที่ 3 ที่ river) กับ value hand ส่วนใหญ่ของเรา ต่อจาก turn และแน่นอนว่าการยิง triple barrel นี้ ควรจะต้องบาลานซ์กับ bluff ที่มีประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมจำนวนหนึ่ง

range ของการ bet ด้วยขนาด 66% ของ pot บน board อย่าง 5♥ T♦ Q♠ อาจจะมีลักษณะตามรูปนี้ :

flop c-betting guide

สีแดง= Bet, สีเขียว = Check, สีน้ำเงิน = ไม่อยู่ใน range

ข้อดีของการ c-bet 66% ของ pot

1. ได้ value ที่ดี ไปพร้อมๆกับการปกป้อง

การ bet ใหญ่ ไม่เพียงแต่จะทำให้เรียก value ได้มากขึ้นเมื่อเรามี strong hand แต่เรายังได้รับการปกป้องกับแฮนด์ที่ค่อนข้างอ่อนแอใน range เราอีกด้วย และการ bet ไซส์นี้ ยังไม่ใหญ่เกินไป ที่เราจะสามารถ bet ได้ กับแฮนด์ที่ไม่แข็งมากบางแฮนด์ เพื่อเรียก value (เช่น AT บน board Q♠ T♦ 5♥) โดยที่เราสามารถ check ที่ turn ได้ ถ้าเราไม่ติด 2 pair หรือ trips เพื่อคุมขนาด pot

ด้านการปกป้อง ด้วยการ bet ไซส์นี้ บน board Q-T-5 นั้นไม่ได้มีความสำคัญเทียบเท่ากับ board ส่วนใหญ่อื่นๆ (เช่น 8♦ 4♠ 2♠) นั่นก็เพราะ มีแฮนด์ใน range ของคู่แข่งเราเพียงจำนวนน้อย ที่จะมี equity มากพอจะมาสู้กับแฮนด์ที่เรากำลัง bet เพื่อเรียก value ได้ ขณะที่ board ที่เลขต่ำๆ อย่าง 8-4-2 จำเป็นต้องปกป้องมากกว่า เพราะทุกแฮนด์ที่อย่างน้อยเป็น overcard ก็สามารถ พลิกมาเอาชนะเราได้ 

2. การเล่นตอน turn หลังโดน check-raise จะง่ายขึ้น

เนื่องจาก betting range ของเราค่อนข้างแคบ และแฮนด์ส่วนใหญ่ที่เล่นก็มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน คือไม่เพื่อ value ก็ bluff ทำให้เรามีแผนการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าจะเล่นต่อยังไง ตัวอย่างเช่น :

  • ถ้าเรามีแฮนด์ที่เรียก value ได้ หรือมี draw ดีๆ เราก็ call เล่นต่อเมื่อเจอ check-raise ได้
  • ถ้าเรามีแฮนด์ที่เรียก value ได้ แล้วเขา call มา เราก็มักจะต้อง bet ที่ turn ต่อ
  • ถ้า bluff ของเรามี equity น้อย เมื่อเจอ check-raise เราก็ fold ได้ง่ายๆ

ข้อเสียของการ c-bet 66% ของ pot

1. ไม่ได้ใช้ bet เพื่อการปกป้อง หรือเรียก value เล็กน้อย ได้บ่อยเท่าไหร่

ไซส์นี้มักเป็นการ bet ไล่คู่แข่งมากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ไซส์ที่เล็กกว่านี้ ดังนั้น เราจึงต้อง check บ่อยๆ เพื่อให้คู่แข่งได้เห็นไพ่ที่ turn แบบฟรีๆมากกว่า (ถึงจะเรียก value จากคู่แข่งได้) 

2. เลือกแฮนด์มา c-bet ได้ยาก

การ bluff และการ bet กับ strong hand นั้นค่อนข้างเลือกง่าย แต่การ bet ด้วยไซส์กลางๆแบบนี้ทำให้ตัดสินใจได้ยาก ว่าจะเลือกแฮนด์กลางๆแฮนด์ไหนมา c-bet ดี ตัวอย่างเช่น เราเคยยกตัวอย่างว่า AT bet บน flop Q-T-5 แล้วถ้าเป็น KT ล่ะ เราควร bet ด้วยไหม? คำตอบที่ไม่ค่อยชอบใจนักก็คือ อาจจะได้ มันค่อนข้างเลือกยากว่า แฮนด์กลางๆแฮนด์ไหนควรจะ bet หรือ check ดี

นอกจากนั้น การบาลานซ์ระหว่าง value range ที่ค่อนข้างกว้าง กับสัดส่วนของ bluff ที่เหมาะสมนั้น เปรียบเทียบกับได้ลำบาก ถ้าเรา bet ไซส์ใหญ่ เพราะเราจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เล็กน้อยในการเลือกแฮนด์ที่จะ bluff เพิ่มเติม นอกเหนือจาก straight draw และ flush draw ที่ใช้กันบ่อยๆ เพราะถ้ามีแค่นี้ จะทำให้ bluff ใน range ของเรามีสัดส่วนที่น้อยเกินไป 

3. ทำให้คู่แข่งตัดสินใจเล่นที่ flop ได้ง่าย

การตัดสินใจของคู่แข่งจะง่ายขึ้นมาก เปรียบเทียบกับเมื่อต้องเจอการ bet ไซส์เล็ก เขาไม่ต้องกังวลกับการ check-raise เพื่อเรียก value เล็กน้อย หรือการเลือกแฮนด์ float มากนัก (เพราะถ้าไม่มีอะไรให้เล่นมากพอ ก็ fold ได้ง่ายๆ)

การ c-bet 100% pot

การใช้ไซส์นี้ มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน : เพื่อเรียก value ให้ได้มากที่สุด และเพื่อสร้างแรงกดดันให้มากที่สุด เมื่อต้อง bluff

แต่ละแฮนด์ที่เราจะ bet ไซส์นี้นั้นมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าจะ value bet หรือ bluff โดยจะไม่มีแฮนด์กลางๆเลย ซึ่งเราจำเป็นต้องเลือก value hand มา bet อย่างระมัดระวัง เฉพาะแฮนด์ที่ strong จริงๆเท่านั้น ทำให้โดยรวม เราจะได้ bet น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับการ c-bet 66% ของ pot

ตัวอย่าง : c-bet ด้วย A♥ Q♥ บน flop Q-T-5 แต่จะไม่ c-bet กับ Q♥ 9♥

เมื่อเราเจอ check-raise แปลว่าคู่แข่งของเรากำลังแสดงออกถึงความแข็งแกร่งมากๆ ดังนั้น เราต้อง fold กับแฮนด์ที่เป็น draw จำนวนไม่น้อยอย่างไม่น่าเชื่อ (เช่น K9) และบางแฮนด์ที่มี value พอสมควร (เช่น QJ) แฮนด์เหล่านี้เหมือนจะ strong เกินไปที่จะ fold แต่เนื่องจากมันเป็นแฮนด์ต่ำสุดของ betting range ของแฮนด์กลุ่มที่ strong ที่สุดของเรา เราจึงควร fold อย่างสบายใจได้

เมื่อถึง trun เราก็ควร bet ด้วยขนาดเท่า pot ต่อไป ซึ่งทำให้เราสามารถเรียก value ขนาดใหญ่ได้กับ range ที่ strong ของเรา และเราควรวางแผนที่จะ bet ทั้ง 3 street กับ value hand ทั้งหมดของเรา ยกเว้น board เปลี่ยนมากเกินไป

สำหรับคู่แข่งเราแล้ว เมื่อเจอกับการ bet ขนาดใหญ่ขนาดนี้ เขาควรจะตอบโต้ด้วยการ fold ให้มากขึ้น เขาอาจจะสามารถ check-raise ได้น้อยครั้งมากๆ เพราะ betting range ของเรา strong มากๆ

range ของการ bet ด้วยขนาด 66% ของ pot บน board อย่าง Q-T-5 อาจจะมีลักษณะตามรูปนี้ :

flop c-bet guide pot sizes

สีแดง= Bet, สีเขียว = Check, สีน้ำเงิน = ไม่อยู่ใน range

โน้ต : นี่เป็น range ที่ถูกทำให้ง่ายขึ้น แบบสมเหตุผล ขณะที่ betting range ที่สมบูรณ์แบบตามทฤษฎีนั้น จะยังรวมแฮนด์ที่แข็งแกร่งกลางๆ รวมถึง bluff ที่หลากหลายอื่นๆเข้าไปด้วยบ้าง มากกว่านี้ 

ข้อดีของการ c-bet 100% ของ pot

1. เรียก value ได้มากขึ้นกับ strong hand ของเรา

2. ทำให้คู่แข่งที่มี draw ตัดสินใจได้ยากขึ้น

คู่แข่งของเราจะเจอการ draw ที่ราคาไม่ดี แม้จะมี draw ที่มากมาย แต่ก็จะเจอกับปัญหาเมื่อโดน bet ใหญ่ใส่

3. ทำให้คู่แข่งมีโอกาสเล่นผิดพลาดได้ (มากขึ้น) เมื่อเจอกับไซส์นี้

คู่แข่งของเราส่วนใหญ่มักจะไม่คุ้นเคยเมื่อเจอกับ bet ไซส์นี้ เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้ bet ไซส์นี้กันเท่าไหร่ นั่นทำให้พวกเขามีโอกาสเล่นผิดพลาดได้มากขึ้น เช่น call c-bet บ่อยหรือน้อยเกินไป

เช่นเดียวกัน คู่แข่งของเราก็มักจะไม่ได้ศึกษาวิธีการเล่นเมื่อเจอกับ bet ไซส์นี้ มากเท่าไหร่เช่นกัน

4. ทำให้เราเรียก value ได้อย่างมหาศาล จากผู้เล่นที่ไม่ได้สนใจขนาดของ bet 

5. ทำให้เราสร้าง betting range ในแต่ละ street ได้ค่อนข้างง่าย

แฮนด์ที่เราจะ bet จะถูกจัดกลุ่มอย่างชัดเจน ว่าเป็น value หรือ bluff แปลว่า เราเพียงแต่ต้องคิดว่า แฮนด์อะไรที่ strong พอที่จะ bet 3 street ได้ และก็หาตัวแทนของ bluff ที่จะเอามารวมกับ value hand เหล่านั้น

นอกจากนี้ เรายังไม่ต้องหา bluff มามากเท่าไหร่ เพราะเราก็ไม่ได้มี value bet ที่สูงมากเท่าไหร่เช่นกัน เราอาจจะ bluff กับ draw ทั่วไป ที่เพียงพอจะบาลานซ์ range ของเราได้

การเล่นตอน trun และ river ก็ยังเป็นไปตามแนวทางนี้ ถ้า board ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก เรายังสามารถ bet ต่อกับ value hand และยอมแพ้กับ bluff ที่อ่อนแอ ในแต่ละ street ได้เช่นกัน

ข้อเสียของการ c-bet 100% ของ pot

1. ไม่สามารถเรียก value เล็กๆ หรือ bet เพื่อปกป้อง กับไซส์นี้ได้

นี่คือข้อเสียของการใช้ bet ใหญ่ แต่ต้องเลือกทีจะ check แฮนด์ที่ strong อย่าง Q9 บน board Q♠ T♦ 5♥ ที่เราอาจใช้ bet เล็ก เพื่อเรียก value บางส่วน หรือเพื่อปกป้อง equity ของเราได้

2. ทำให้ range ของคู่แข่งที่จะเล่นต่อกับเราต้อง strong มากๆ

เมื่อเรา bet ใหญ่ 3 ครั้งต่อเนื่อง จะมีเพียงแฮนด์จำนวนหนึ่งของคู่แข่งที่จะ call เรามาตลอดได้ ซึ่งจะต้อง strong มากๆ ซึ่งแปลว่า เราจะเสียเต็ม ถ้าเราเจอ cooler  

ตัวอย่างเช่น : เมื่อเราเจอคู่แข่ง call ตามมา โดยที่เรา bet เท่า pot บน flop Q-T-5 เขาอาจจะมี 5♥ 5♠ ได้บ่อยกว่า เมื่อเทียบกับถ้าเรา bet ด้วยไซส์ขนาดเล็ก

3. ทำให้คู่แข่งเล่นด้วยง่าย ในทางทฤษฎี

bet ไซส์นี้จะเล่นด้วยค่อนข้าง่าย อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะคู่แข่งของเราไม่จำเป็นต้อง raise บ่อย และ fold กับหลายแฮนด์ได้ง่ายๆ เนื่องจากเขาไม่จำเป็นต้องตัดสินใจอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน

4. มันไม่สมเหตุผลที่จะใช้กับทุก board

สิ่งที่ต่างจากการใช้ 2 ไซส์ก่อนหน้าก็คือ การ bet ไซส์นี้ ในทางทฤษฎีแล้ว ไม่ควรใช้กับบาง board เนื่องจากมันไม่สามารถใช้ bet กับแฮนด์ส่วนใหญ่ได้ ดังนั้น จึงทำให้ไม่สามารถสร้างการปกป้องได้มากพอ ซึ่งเป็นข้อเสียที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะกับ board อย่าง 8-4-2*

*โน้ตจากผู้เขียน : solver มักจะชอบใช้ bet ไซส์ใหญ่กับ board ที่เลขต่ำและไม่เรียงกัน เช่น 8-4-2 อย่างไรก็ตาม การใช้ไซส์เล็ก สมเหตุผลกว่าในการปรับการเล่นแบบ exploit เพราะในทางปฏิบัติแล้ว การปกป้องเมื่อเจอกับการ bet เล็ก ทำได้ค่อนข้างยาก บน board ประเภทนี้ 

อย่างไรก็ตาม บน board อย่าง Q♠ T♦ 5♥ มันอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพราะมีเพียงแฮนด์จำนวนน้อยที่ต้องการการปกป้อง บน board แบบนี้

5. เราจะเจอปัญหาการเล่นเมื่อเจอบางไพ่ตกที่ turn

range ของการ bet 100% pot ถูกกำหนดมาอย่างชัดเจน มากกว่า range ที่ใช้ bet ไซส์อื่น นั่นทำให้เราอาจจะเจอปัญหาในบาง turn เมื่อหลาย draw ของเราตก (ทำให้เราไม่สามารถ bluff ต่อได้) หรือ มีไพ่ที่ทำให้แฮนด์ที่แย่กว่า พัฒนาขึ้นมาได้ (เช่น ถ้า turn ตกเป็น T♥ บน board นี้)

สรุป

เราคงได้เจอประเด็นที่สนับสนุน และคัดค้าน การใช้ bet ทั้ง 3 ขนาดนี้กันไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ตอนนี้เราน่าจะมีอาวุธเพียงพอที่จะเลือกขนาดการ bet ที่เหมาะสมในการเล่นได้

อย่าลืมว่า บางประเด็นนั้นมีความสำคัญมากกว่าประเด็นอื่น การมีข้อดีหลายข้อ ไม่ได้แปลว่าการ bet ไซส์นั้นจะดีกว่า และการมีข้อเสียหลายข้อ ก็ไม่ได้แปลว่าการ bet ไซส์นั้นด้อยกว่าเช่นกัน จุดประสงค์ของการเรียนรู้ ก็เพื่อให้เราเข้าใจการเลือกใช้ขนาดการ bet ได้ดีขึ้น และสามารถเลือกใช้แต่ละขนาด ที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ได้

https://upswingpoker.com/66-and-100-c-bet-sizes/